รูปแบบการส่งเสริมในการใช้แอปพลิเคชันการวางแผนทางการเงินในช่วงวัยสูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมในการใช้แอปพลิเคชันมีความสำคัญต่อมนุษย์โดยเฉพาะการวางแผนทางการเงินในช่วงวัยสูงอายุ บทความนี้ได้จากการสังเคราะห์และวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งด้านแอปพลิเคชันของพฤติกรรมผู้สูงอายุ การวางแผนทางการเงิน กระบวนการยอมรับเทคโนโลยี ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในสังคมตั้งแต่นโยบายของประเทศจนมาถึงครอบครัว การหาวิธีการช่วยเหลือผู้สูงอายุลดการพึ่งพิงจากคนรอบข้าง สามารถดูแลตนเองได้ ในด้าน สังคม สุขภาพ เศรษฐกิจ ซึ่งสังคมจะเน้นให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มีสังคมที่สามารถดูแลซึ่งกันและกันทำให้ตัวเองมีทัศนคติที่เกิดคุณค่าต่อสังคม ด้านสุขภาพเน้นไปที่การดูแลสุขภาพด้วยตนเองผ่านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจได้มีการใช้แอปพลิเคชันการวางแผนทางการเงินในช่วงวัยผู้สูงอายุโดยใช้การบันทึกรายรับรายจ่ายซึ่งเป็นกิจกรรมเบื้องต้นก่อนที่จะทำไปสู่การวางแผน บทความวิจัยนี้นำเสนอรูปแบบการส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชันการวางแผนทางการเงินในช่วงวัยผู้สูงอายุที่มีการผสมศาสตร์ด้านการออกแบบเทคโนโลยีและศาสตร์ด้านการสร้างตระหนักและการปรับพฤติกรรมไว้ด้วยกันจำนวน 6 ขั้นตอน 1.เก็บความต้องการ 2.สร้างต้นแบบ 3.การทบทวนต้นแบบ 4.การสร้างความตระหนัก 5.การปรับพฤติกรรม 6.การยอมรับเทคโนโลยี เพื่อสร้างการยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันในผู้สูงอายุ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติพัฒน์ แสนทวีสุข. (2556). เงินทองต้องใส่ใจ. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566, จาก https://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF
บัณฑิตา โนโชติ. (2564). ประสบการณ์และการยอมรับเทคโนโลยีของผู้สูงอาวัยหลังเกษียณใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีผลต่อความเต็มใจใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปกร.
พนม คลี่ฉายา. (2564). การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังและผลิตภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารนิเทศศาสตร์, 39(2), 56-78.
วารี กังใจ. (2557). การพัฒนารูปแบบและเทคโนโลยีเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสอมงเสื่อมโดยการมีส่วนร่วมของครอบครับและชุมชน (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สนาม ลอยฟ้า. (2557). ผู้สูงอายุกับเทคโนโลยีสารสนเทศ. Journal of Information Science Research and Practice, 29(2), 53–64.
สารัช สุธาทิพย์กุล และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2560). สภาพปัญหาและการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีของผู้สูงอายุกรณีศึกษาผู้สูงอายุที่ใช้สาร์ทโฟนในพื้นที่บริเวณโดยรอบปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อย จังหวัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เสกสรรค์ ศิวิลัย และรัฐวิภาค อู่ทองมาก. (2564). การพัฒนาระบบสนเทศสำหรับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอเมืองพิษณุโลก. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ครั้งที่ 4 วันที่ 22 พฤษภาคม 2564 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 72-77.
อารีย์ มยังพงษ์ และ เกื้อกูลตาเย็น. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้สื่อเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในยุค หลอมรวมเทคโนโลยี (รายงานวิจัย). คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
Davis, F. (1989) Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.