แนวทางการนิเทศการศึกษาในยุค BANI World

Main Article Content

ปุณยนุช ทองศรี
จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์
สุนิสา ละวรรณวงษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการนิเทศการศึกษาในยุค BANI World และเทคนิคการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา จากการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างฉับพลันและก้าวกระโดด (Digital Disruption) การปรับเปลี่ยนจากสภาวะที่พลิกผันแบบ VUCA World และเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค BANI World สังคมสูงวัยและโรคอุบัติภัยใหม่ ๆ ซึ่งเป็นโลกที่เปราะบางเต็มไปด้วยความกังวล เข้าใจยากและไม่สามารถคาดการณ์ได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดภาวะถดถอยทางเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning loss) ทุกระดับชั้น ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น การนิเทศการศึกษาจึงเป็นกลไกที่สำคัญในการช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม ชี้แนะ อำนวยความสะดวกให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน การเลือกใช้สื่อการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลที่เหมาะสม ยังเป็นการเรียนรู้ การวางแผนและพัฒนาวิชาชีพร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศเพื่อเป้าหมายเดียวกัน คือ คุณภาพของผู้เรียนหรือประสิทธิภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน อีกทั้งลด  ความเหลื่อมล่ำเพิ่มโอกาสทางการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชูขวัญ รัตนพิทักษ์ธาดาและคณะ. (2566). สมรรถนะของผู้นำทางการศึกษาเพื่อการอยู่รอดและเติบโตในยุค BANI world. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก, 9(1), 16-28.

นิรมล เสรีสกุลและคณะ. (2565). การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมในการขับเคลื่อนแนวคิดเมืองแห่งการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาย่านกะดีจีน-คลองสาน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 20(2), 45-67.

พัสฏาพรห์ คำจันทร์. (2565). อนาคตภาพการนิเทศการศึกษา สำหรับศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในทศวรรษหน้า: กรณีสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รุ่งทิวา แย้มรุ่งและคณะ. (2565). ยุคการเปลี่ยนแปลงของโลกกับความหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัย. วารสารคหเศรษฐศาสตร์, 65(2), 1-13.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน (Supervision of Instruction). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช. พิมพ์ครั้งที่ 12 นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

วิภาวี เธียรลีลา. (1 พฤศจิกายน 2565). โลกโกลาหล (BANI World) Ep 1 Brittle: ในโลกที่เปราะบาง เด็กต้องไม่แตกหักด้วยทักษะความยืดหยุ่น. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566, จาก https://thepotential.org/ knowledge/bani-world-ep1-brittle/

ศิริวรรณ ลี้กิจเจริญผล. (2559). การนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาพร สมอุทัย. (2022). “การนิเทศการศึกษา” หนึ่งตัวช่วยในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(3), 275–288.

สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.

สำนักงานคณะการกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ถอดบทเรียนการแก้ไขภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ LEARNING LOSS. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). มาตรการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ:เอส.บี. เค. การพิมพ์.

Acheson, K.A. and Gall, M. D. (2003). Clinical Supervision of Teacher Development Perservice and Inservice Applications. U.S.A.: John Wiley & Sons, Inc.

Allen, D.W. and Le Blance, A.C. (2005). Collaborative Peer Coaching. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

Glatthorn, A.A. (1984). Differentiated Supervision. Washington D.C.: Association for Supervision and Curriculum Development.

Glickman, C.D., Gordon, S.P. and Ross-Gordon, J.M. (2004). Supervision and Instruction: A Developmental Approach. 6th ed. Boston: Allyn and Bacon, Inc.

Good, C.V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill Book.

Harris, B. M. (1973). Supervisory Behavior in Education. Englewood Cliffs New Jersey: Prentice Hall.

Oliva, P.F. and Pawlas, G.E. (2001). Supervision for Today’s School. 5thed. New York: Longman inc.

Wiles, J. & Bondi, J. (2004). Supervision: A Guide to Practice. 6th ed. New Jersey: Pearson Prentice-Hall.

Zepeda, Z.J. (2005). Instructional Supervision: Applying Tools and Concepts. Eye on Education Inc.