แนวทางการจัดตารางเรียนตารางสอนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยพะเยา

Main Article Content

ศิรินทิพย์ หมั่นงาน
ณัฐพงษ์ พรมวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดตารางเรียนตารางสอนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยพะเยา และ 2) ศึกษาแนวทางการจัดตารางเรียนตารางสอนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยพะเยา ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้บริหาร, อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ด้วยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง และเก็บรวบรวมรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ แล้วนํามาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกับการจัดตารางเรียนตารางสอนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มที่ 1 (นิสิต) ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบ คือ ช่วงเวลาในการจัดการเรียนการสอนไม่ค่อยเหมาะสม การแบ่งกลุ่มเรียนของนิสิต ขาดความต่อเนื่องในการจัดการเรียนการสอน และการจัดลำดับการเรียนของรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และกลุ่มที่ 2 (อาจารย์) ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบ คือ ตารางเรียนตารางสอนชนกับรายวิชาของสาขา จำนวนอาจารย์ผู้สอนไม่สอดคล้องกับจำนวนของนิสิต ภาระงานในรายวิชามีมากเกินไป และระยะเวลาของกิจกรรมการเรียนการสอนไม่ค่อยชัดเจน และ 2) แนวทางการจัดตารางเรียนตารางสอนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยพะเยา คือ แนวทาง “SPACE” ประกอบด้วย S = Student (นิสิต), P = Policy (นโยบาย), A = Activity (กิจกรรม), C = Communication (การสื่อสาร), และ E = Environment (สภาพแวดล้อม)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐพงษ์ พรมวงษ์ และอัจฉรา ศรีพันธ์. (2566). แนวทางการจัดการเรียนรู้หมวดวิชาศึกษาทั่วไปเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลกของนิสิตระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(2), 119-132.

นิภาพรรณ โสพัฒน์. (2562). วิธีการสื่อสารในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(3), 23-30.

นุชรัตน์ นุชประยูร และคณะ. (2565). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของเดวีส์เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติการใช้โปรแกรมตารางคํานวณ รายวิชาระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจของนักศึกษาปริญญาตรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 8(1), 81-89.

ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565. (2565, 9 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 212 ง. หน้า 11-20.

พรรณงาม ธีระพงศ์ และสมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ. (2559). การนำนโยบายการกระจายอำนาจการจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครปฐม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(1), 655-667.

วุฒิพงษ์ ชินศรี และคณะ. (2557). การแก้ปัญหาการจัดตารางสอนในระดับมหาวิทยาลัยด้วยเมตาฮิว ริสติก: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ,17(4),639-659.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพนิสิตเกิดจากกระบวนการ เรียนรู้”. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

สุจรรยา แก้วพรายตา และวนิดา รัตนมณี. (2560). การแก้ปัญหาการจัดตารางสอนที่มีนักศึกษาหลายคณะ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 24(1), 119-129.

เสาวลักษณ์ เจ่าสกุล. (2558). การพัฒนาการจัดตารางเรียนตารางสอนโดยใช้โปรแกรม Microsoft Access กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบัับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(3), 191-196.

อรพันธุ์ ประสิทธีรัตน์. (2545). สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.