การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการบริหารการศึกษา ของมหาวิทยาลัยพะเยาระหว่างปี พ.ศ. 2557-2563
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยพะเยาระหว่างปี พ.ศ. 2557-2563 ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการศึกษาเอกสารงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยพะเยา ระหว่าง ปี พ.ศ. 2557-2563 จำนวน 26 เรื่อง โดยมีประเด็นการวิจัย ประกอบด้วย 1) ประเภทของการวิจัย 2) ชื่อเรื่องวิจัย 3) วัตถุประสงค์การวิจัย 4) หลักการ แนวคิด และทฤษฎี 5) เนื้อหาสาระที่ใช้ในการวิจัย 6) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 7) วิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง 8) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และ 9) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกข้อมูล และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเคราะห์เอกสารจากงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก สาขาวิชาการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยพะเยาระหว่างปี พ.ศ. 2557-2563 และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกสาขาวิชาการบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยพะเยาระหว่างปี พ.ศ. 2557-2563 มีรายละเอียดดังนี้ 1) ประเภทของการวิจัยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยและพัฒนา 2) ชื่อเรื่องวิจัยส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการและการพัฒนากลุ่มตัวอย่าง 3) วัตถุประสงค์การวิจัยส่วนใหญ่เพื่อพัฒนา/สร้างรูปแบบการบริหารจัดการ 4) หลักการ แนวคิด และทฤษฎีส่วนใหญ่ใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารด้านการพัฒนาองค์กร/ทรัพยากรบุคคล 5) เนื้อหาสาระที่ใช้ในการวิจัยส่วนใหญ่ใช้การบริหารจัดการและการพัฒนาสมรรถนะบุคคล 6) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในสถานศึกษา 7) วิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ 8) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนใหญ่ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และ 9) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่ใช้สถิติพรรณนาและสถิติสรุปอ้างอิงหรือสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานการวิจัยส่วนใหญ่เป็นการวิเคราะห์การถดถอย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เฉลิมศักดิ์ นามเชียงใต้. (2561). การวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 2(1), 1-79.
นนทวัฒน์ สุขผล และศุภชัย เหมือนโพธิ์. (2565). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรบุคคลรองรับการเป็นธนาคารเพื่อสังคม. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 77-90.
พิทยาภรณ์ พิชญวงศ์กุลชัย และอนุชา กอนพ่วง. (2561). การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์และแนวทางการพัฒนางานวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(2), 162-174.
พระนิทัศน์ ธีรปญฺโญ (วงศ์วังเพิ่ม), พระวุฒิพงษ์ แก้วแกมดา และปรัชญา มีโนนทองมหาศาล. (2565). การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 18(83), 1-9.
ยุทธนา วาโยหะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
วิรัช วิรัชนภาวรรณ. (2550). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ: เอกซ์เปอรเน็ท.
วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์. (2560). การพัฒนาองค์การ: แนวคิด กระบวนการ และบทบาท ของนักบริหารการพัฒนาองค์การ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 6(2), 199-209.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2553). รวมกฎหมายกฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ สำหรบผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ยงพลเทรดดิ้ง.
Buason, R., et al. (2014). Evaluation of student thesis quality Ph.D. Naresan University. Journal of Educational Sciences, Naresan University, 16, 120-126.
Office of the Higher Education Commission. (2005). Higher Education Curriculum 2005 and Guidelines for Higher Education Curriculum Standards. Bangkok: Office of the Higher Education Commission.
Tansiri, W. (1996). Guidelines for the Reform of Thai Education in the Globalization Era. Journal of Teacher Education, 16(3), 12-16.