ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระเทคโนโลยีด้วยการจัดการเรียนรู้กระบวนการคิดเชิงคำนวณร่วมกับกระบวนการกลุ่มเทคนิค TAI เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับทักษะ การคิดเชิงระบบและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี กระบวนการคิดเชิงคำนวณร่วมกับกระบวนการกลุ่มเทคนิค TAI เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงระบบและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้สาระเทคโนโลยีด้วยการจัดการเรียนรู้กระบวนการคิดเชิงคำนวณร่วมกับกระบวนการกลุ่มเทคนิค TAI เพื่อส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงระบบและทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2.1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ระหว่างก่อนและหลังเรียน 2.2) เปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงระบบ ระหว่างก่อนและหลังเรียน 2.3) พัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิค TAI กระบวนการคิดเชิงคำนวณ ผลการเรียนรู้ การคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียน พื้นที่วิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไทรโยคใหญ่ปีการศึกษา 2566 จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี เรื่อง การเขียนโปรแกรมอย่างง่าย 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดการคิดเชิงระบบ 4) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t ผลการวิจัยพบว่า
1) การจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี ด้วยการจัดการเรียนรู้กระบวนการคิดเชิงคำนวณร่วมกับกระบวนการกลุ่มเทคนิค TAI ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นกระบวนการกลุ่ม 2.1) กำหนดปญหาที่ตองการแกไขแบ่งปัญหาใหญ่ใหเป็นปญหาย่อย 2.2) การคิดหารูปแบบ 2.3) การคิดเชิงนามธรรม 2.4) ออกแบบขั้นตอนวิธี 3) ขั้นประเมินผล 4) ขั้นเสริมแรง มีประสิทธิภาพ 89.28/81.74 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2) ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงระบบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วยด้านความคิดริเริ่ม ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดยืดหยุ่น ด้านความคิดละเอียดลออ มีคะแนนทั้ง 4 ด้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 23 คน แสดงว่า นักเรียนสามารถปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ศึกษา ทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเพื่อนในกลุ่มรับผิดชอบ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อความสำเร็จของกลุ่ม และสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานจากการวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นลำดับขั้นตอนจนสามารถปลูกฝังทักษะความสามารถในการคิด เพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียนให้สูงขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จรัสพร บัวเรือง. (2562). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยการเรียนรู้แบบนำตนเองวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จิรนันท์ ชาติชัยนานนท์. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงระบบของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณีและคณะ. (2545). กระบวนการเรียนรู้ : ความหมาย แนวทางการพัฒนา และปัญหาข้องใจ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
นิยม กิมานุวัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภัทรลดา ประมาณพล. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง จำนวนนับ และการบวก การลบ การหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค TAI (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
มนตรี แย้มกสิกร. (2546). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบของ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
วนิดา เงาะจันทรา. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI เรื่อง การวัดความยาวที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2554). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ฉบับ อญ.(หลักสูตรฯ 2551 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมบัติ กาญจนารักพงศ์. (2547). 29 เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายการเรียนแบบร่วมมือ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
สมปอง สระหนองห้าง. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรู้ กลุ่มสาระเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุธาสินี สีแจ่ม. (2554). ผลของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ห้องสมุดที่มีต่อการรู้สารสนเทศของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระดับประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
สุพจน์ สานนท์. (2557). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ร่วมกับวิธีการสอนแบบเปิดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สุชาติ ผุดผ่อง. (2542). การวัดและการประเมินผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เสาวคนธ์ สกุลศรี. (2560). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
อัจฉราวรรณ กัลป์ยาณสิทธิ์. (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิทยาการคำนวณพิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: แม็คเอ็ดดูเคชั่น.
อาทิตยา ภูมิคอนสาร. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Slavin, R. E. (1990). Cooperative Learning Models for the 3 R'S. Journal of Educational leadership, 47(4), 22-28.