พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

Main Article Content

สุกัญญา ชมเชย
พงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา และพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ซึ่งตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 293 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการวิจัยพบว่า


1) พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี รองลงมาคือ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ กล้าแสดงออก เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม มีจิตอาสา มีจิตสาธารณะ ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน และด้านซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึก ที่ดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่


2) การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ
การส่งเสริมวินัย คุณธรรม และจริยธรรม รองลงมาคือ การส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ การส่งเสริม สนับสนุนการมี หรือเลื่อนวิทยฐานะ การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง และการส่งเสริม พัฒนามาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ


3) พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคล โดยภาพรวมพบว่า มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (X5) ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม (X6) ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี (X7) และเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (X8) มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนาย เท่ากับ 0.58 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถทำนายการบริหารงานบุคคล ได้ร้อยละ 58.00 และได้สมการถดถอย คือ equation= 1.46+0.16X5 +0.13X6+0.16X7 +0.23X8 or equationY = 0.22X5+0.19X6+0.21X7 +0.31X8

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ณัฐฐากาญจน์ ลักษณะเพ็ญ. (2563). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมที่ส่งผลต่อการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ดวงกมล โถทอง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

บุหลัน หมัดหมาน. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานบุคคลของผู้บริหาร สถานศึกษาในยุควิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พระครูสมุห์บัญชา วฑฺฒโน. (2559). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 3(1), 78-87.

วาราดา ณ ลานคา. (2560). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สลิลทิพ ชูชาติ. (2556). พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้บริหารในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566. กาญจนบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Ertürk, R. (2022). Leader administrator: A qualitative analysis based on teacher opinions. International Journal of Progressive Education, 18(1), 266-284.

Özdoğru, M. (2022). School administrators' behaviors in the professional belonging of teachers. Education Quarterly Reviews, 5(2), 321-336.