แนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการครูและบุคลากรทางการศึกษา สู่มาตรฐานสากล โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กีรติกันย์ เฟื่องกาญจน์
ประภัสสร สมสถาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังของการบริหารจัดการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่ความเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) บนแนวคิดจากเกณฑ์รางวัลคุณภาพจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Office of the Basic Education Commission Quality Awards: OBECQA) ปี 2565-2568 เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือครูและเจ้าหน้าที่ชาวไทยและชาวต่างชาติที่ทำงานในโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ในปีการศึกษา 2566 จำนวน 250 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลทั้งในการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยได้แก่ค่าความถี่ (frequency) ร้อยละ (Percentage) คะแนนเฉลี่ย (Mean) ค่าความต้องการจำเป็น (PNIModified) การวิเคราะห์เนื้อหาจากการผลการสนทนากลุ่มได้เสนอแนวทางและผลลัพธ์ดังนี้
1. สภาพปัจจุบันในการบริหารจัดการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยรวมของโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์ อันดับที่ 1 ได้แก่ ความผูกพันของบุคลากร (ค่า PNImodified = 0.13) อันดับที่ 2 คือ สภาพแวดล้อมของพนักงานและวัฒนธรรมองค์กร (ค่า PNImodified = 0.12) อันดับ 3 คือ การจัดการและการพัฒนาประสิทธิภาพ (ค่า PNI= 0.12) ) และประการที่สี่คือ ขีดความสามารถและความสามารถของกำลังคน (ค่า PNI = 0.10) การวัดและการประเมิน (ค่า PNI = 0.09)
2. แนวทางการประเมินความผูกพันของบุคลากร คือ (1) เพิ่มรูปแบบกิจกรรม งาน โครงการ แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน 2) ออกแบบกระบวนการประเมินความผูกพันของบุคลากรที่เป็นรูปธรรมตามแนวทางการเรียนรู้ ADLI เพื่อใช้ในการบริหารจัดการองค์กรและพัฒนากระบวนการทำงานสู่ความเป็นเลิศ (3) ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรกิจกรรมที่ได้แสดงออกถึงอุปนิสัยพีอาร์ซี (4) ส่งเสริมการทำงานรับใช้ช่วยเหลือด้วยความรักในแบบพระเยซูคริสต ด้านสภาพแวดล้อมของบุคลากรมีแนวทางการพัฒนาคือ (1) มีการจัดทำคู่มือสิทธิประโยชน์ที่พึงจะมีให้แก่ครูใหม่ (2)การเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ครูที่มีอายุงานนาน อาจจะกำหนดเป็นระยะเวลาเช่นทุก ๆ 5 ปีจะได้ค่าประสบการณ์เพิ่ม (3) การแต่งตั้งคณะกรรมการที่มีตัวแทนครูหรือบุคลากรในการออกแบบนโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัย และ ความสะดวกในการทำงาน ด้านความผูกพันของบุคลากร ด้านวัฒนธรรมองค์กรทางการพัฒนา (1) จัดโครงการ “Better Together” โดยให้ครูแต่ละช่วงชั้นได้ร่วมมือกันเสนอทางแก้ปัญหาจากสถาณการณ์ที่เป็น pain point ของโรงเรียน และให้นำเสนอในรูปแบบนวัตกรรมในการแก้ปัญหา เราจะได้ทางออก พร้อม ๆ กับเห็นแนวคิดของครูที่ทำงานมีประสิทธิภาพ และสร้างประโยชน์ให้แก่โรงเรียน ด้านความผูกพันของบุคลากร แนวทางพัฒนาด้านการจัดการผลการปฏิบัติงานคือ (1) ทำโครงการคล้ายกับโครงการครูพันธุ์ใหม่ ของโรงเรียนที่เคยจัดโดยให้ครูที่อยู่ต่างช่วงชั้นได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และทำกิจกรรมร่วมกัน (2) การสร้าง “ Value Time” ให้ครูได้มีโอกาส พบปะ สังสรรค์ พูดคุยให้กำลังใจกันในเชิงสร้างสรรค์ คล้าย ๆ กับ PLC แต่เป็นบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ 3)จัดการเรียนคอร์สสั้น ๆ ที่ช่วยพัฒนาครู เช่น คอร์สเรียนภาษาอังกฤษกับครูต่างชาติแนวทางพัฒนาด้านสภาพแวดล้อมของบุคลากรด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากรได้แก่ (1) จัดค่ายครูใหม่ทั้งชาวไทยและต่างชาติให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (2) ให้มีการเซ็นชื่อ ยินยอม ข้อตกลงหรือกฎ ในสัญญาว่าจะปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กฎ ระเบียบและวัฒนธรรมองค์กรของโรงเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2566, จาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542pdf.pdf

จันทรา อภิบาลศรี, เรืองเดช ศิริกิจ และอรอุมา เจริญสุข. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความผูกพันต่อองค์การของครู สังกัด สพป. ในภาคตะวันออก. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2566, จาก https://www.teched.rmutt.ac.th/ili2018/wp-content/uploads/2018/08/12-ILI-045-จันทรา-อภิบารศรี.pdf

จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว. (2559). เปลี่ยน pain point เป็น gain point. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2566, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/112547

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์ (1991).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). คู่มือประกอบการประเมินคุณภาพการศึกษา 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). กรอบแนวคิดการประเมินคุณภาพสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน OBECQA ปี 2565 – 2568. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Hui, E. K. (2002). A whole-school approach to guidance: Hong kong teachers’ perceptions. British Journal of Guidance & Counselling, 30(1), 63–80.

Kaufman, R. (1982). Needs Assessment:Concept and Application. Retrieved on April 9, 2023, from https://books.google.co.th/books/about/Needs_Assessment.html?id=cs03lJIo0SQC&redir_esc=y

Leithwood, K., Seashore Louis, K., Anderson, S., & Wahlstrom, K. (2004). How leadership influences student learning. University of Minnesota: Center for Applied Research and Educational Improvement.

Scriven, M., & Roth, J. (1978). Needs assessment: Concept and practice. Retrieved on April 9, 2023, from https://www.academia.edu/69568942/Needs_assessment_Concept_and _practice

Tirat, K. (2020). Total Quality Management and Public Sector Management Quality Award of The Teachers’ Council of Thailand. Journal of Education Rajabhat Maha Sarakham University, 17(1), 225–233.

Wongwanich, S., & Wiratchai, N. (2007). Needs Assessment Research. Bangkok: Chulalongkorn University.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.