คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษา และ 3) ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารในสถานศึกษาที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ประกอบด้วยครูผู้สอน จำนวน 293 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ กำหนดระดับความสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า
1) คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านลักษณะพื้นฐานธรรมชาติเดิมเป็นทุน ด้านการศึกษา ด้านความรู้ลึกและรู้รอบ ด้านความสามารถ ชำนาญในการบริหารและจัดการศึกษา ด้านบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ และด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
2) การมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษา ภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการประเมินผล ด้านการรับผลประโยชน์ ด้านการดำเนินงาน และด้านการตัดสินใจ
3) คุณลักษณะของผู้บริหารที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ ด้านลักษณะพื้นฐานธรรมชาติเดิมเป็นทุน ด้านบุคลิกภาพน่าเชื่อถือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านความสามารถชำนาญในการบริหารและจัดการศึกษา และด้านความรู้ลึกและรู้รอบ มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนายเท่ากับ 0.758 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสามารถทำนายการมีส่วนร่วมของชุมชนในสถานศึกษาได้ร้อยละ 75.80 และได้สมการถดถอย คือ = 0.52 + 0.11X1 + 0.11X3 + 0.12X4 + 0.20X5 + 0.35X6 หรือ Y = 0.11X1 + 0.13X3 + 0.14X4 + 0.24X5 + 0.43X6
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาญจนา ภูวประภาชาติ, มิตภาณี พุ่มกล่อม และพงษ์ศักดิ์ รวมชมรัตน์. (2565). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ตามความคิดเห็นของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1392-1405.
กอบกฤช การควรคิด. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
กฤษณพงษ์ ศรีทรัพย์. (2565). คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ธีระ รุญเจริญ, (2557). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
ดาวไสว ขุนทอง. (2566, 15 กรกฎาคม). ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากลำปิล็อก. [สัมภาษณ์].
นาวิน แกละสมุทร. (2562). การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม (วรรณนาวิน). (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุภาวรัตน์ ขันตีกรม. (2566). การบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, 11(1), 34-44.
ศุภมาส วิสัชนาม. (2560). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุภาวดี พรหมทะสาร. (2561). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามทัศนะของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562ก). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Cohen, J. M. & Uphoff, N.T. (1981). Rural development participation: concept and measure for project design implementation and evaluation: rural development committee center for international studies. New York: Cornell University Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.
Porter, M. E. (2009). Hashemite kingdom of Jordan: The tourism cluster. New York: Prentice-Hall.
Stadt, R. W. & others. (1973). Managing career education programs. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice–Hall.