ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

สรายุทธ ลอยวน
ปรเมศร์ กลิ่นหอม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ในสถานศึกษา 2) การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กรอบแนวคิดภาวะผู้นำทางวิชาการและการบริหารงานวิชาการเป็นกรอบในการวิจัย โดยมีพื้นที่ในการวิจัย คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาญจนบุรี ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 283 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมาก

  2. การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมาก

  3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาญจนบุรี ด้านการสื่อสารเป้าหมายของสถานศึกษา (X2) ด้านการประสานงานการใช้หลักสูตร (X4) และด้านการพัฒนาและสร้างมาตรฐานด้านวิชาการ (X10) มีค่าสัมประสิทธิ์ในการทำนายเท่ากับ 0.95 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สามารถทำนายการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ร้อยละ 95 ได้สมการถดถอย คือ = 0.07 + 0.65X2 + 0.52X4 - 0.20X10 หรือ Y = 0.68X2 + 0.55X4 - 0.23X10

 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัญวัญญ์ ธารีบุญ. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัย. วารสารอิเลกทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 122-137.

ข้าวทิพย์ ทีสุกะ. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อผลสำเร็จในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครพนม เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ไชยา ภาวะบุตร. (2566). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(4), 56-70.

นพพล ศุภวิทยาเจริญกุลม. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

นิรมล พันศรี. (2559). แบบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อสมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารบัณทิตศึกษา, 13(60), 87-97.

บัรนัน สาแล. (2564). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี(การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

ปวีณา บุทธิจักร, วัฒนา สุวรรณไตรย์ และจินดา ลาโพธิ์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 10(37), 210-220.

พรรณี วันกระจ่าง และชวน ภาวังกูล. (2561, มีนาคม). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 8 ราชบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6, ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย.

เพ็ญนภา ศรีแปลก. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ไพลิน พิงพิทยากุล. (2562). การบริหารงานวิชาการโรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิรินภา วรรณสินธ์, ศิริ ถึอาสนา และเสน่ห์ คำสมหมาย. (2564). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาเอกชน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(2), 140-150.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2562. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2566, จาก https://www.moe.go.th/ backend/wpcontent/uploads/2020/10/1

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา. (2562ค). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2562. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2566, จากhttps://drive.google.com/file/d/1E38aTNMEW8cN 3UiGA_tv5iciUOdsOtcA/view

สำนักงานเลขานุการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการสภาการศึกษา.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี เขต 1. (2566). กลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2566, จาก https://wwwkanpeo.go.th/home

อมรรัตน์ ไทรเมือง. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการกับการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Hallinger, P. & Murphy, J. (1985). Assessing the instruction management behavior of principal. The elementary School Journal, 86(2), 221-224.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.