ภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษาและ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู จําแนกตามเพศ และขนาดสถานศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ครู จำนวน 276 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการเข้าใจผู้อื่น ด้านความยืดหยุ่น ด้านความฉลาดทางอารมณ์ และด้านการเห็นใจผู้อื่น 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู ที่จําแนกตามเพศ พบว่า โดยภาพรวมและรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน สำหรับการเปรียบเทียบภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู ที่จําแนกตามขนาดสถานศึกษา พบว่า โดยภาพรวมและรายด้าน ด้านการเห็นใจผู้อื่น ด้านความฉลาดทางอารมณ์ และด้านความยืดหยุ่น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยครูในสถานศึกษาขนาดกลาง
มีความคิดเห็นมากกว่าครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จามร วรรณากาญจน์. (2567, กุมภาพันธ์ 24). ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านอุโลกสี่หมื่น. โรงเรียนบ้านอุโลกสี่หมื่น. สัมภาษณ์.
จรุณี เกาเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลยุทธและแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. สงขลา: ชานเมือง.
จินตนา แสนภูวา. (2567). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วารสารบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร,12(46), 288-298.
จุฑาพร แต้ภักดี. (2561). ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอุบลราชธานีและความเกี่ยวข้องระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุมพล บุญมี. (2566). ภาวะผู้นำแบบเห็นอกเห็นใจของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 20(38), 110-120.
ณัฏฐณี สุขปรีดี. (2565). Empathy มองเห็น-เข้าใจบริบทของผู้เรียน. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2566, จากhttps://research.eef.or.th/empathy
ธันยพร จารุไพศาล. (2567). ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional intelligence). สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2566, จาก https://www.workwithpassiontraining.com/17256345-emotional-intelligence
ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน. (2564). การพัฒนาความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนิสิตจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 47(1), 75-98.
นิลุบล สุขวณิช. (2567). เปิดเคล็ดลับการครองคน ครองงาน อย่างผู้นำที่ใช้หัวใจนำองค์กร (Empathic Leader). สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2566, จาก https://www.istrong.co>single-post>empathetic-leader
บัณฑิตา สิทธิพงศากุล. (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับองค์กรสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พสุ เตชะรินทร์. (2567). คุณลักษณะของผู้นำ ที่ต้องเพิ่มในปี 2567. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2567, จากhttps://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1107490
พิชญานิน อินทโสตถิ. (2565). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในการส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย ของครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รุสลัน ดาโอะ. (2567). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนราธิวาส (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ศศิวิมล มาลาพงษ์. (2567). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการปฏิบัติงานครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารวิจัยวิชาการ, 7(3), 75-86.
สริดา ศุภสุทธิเวช. (2563). การพัฒนาชุดนิทานส่งเสริมพฤติกรรมการเห็นอกเห็นใจสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์, 21(1), 92-106.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. (2562). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2563–2565. กาญจนบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2.
สุขอรุณ วงษ์ทิม. (2561). “ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ” ในเอกสารการสอนชุดวิชาเทคนิคการปรึกษาเบื้องต้น. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสาวณีย์ สมบูรณ์ศิโรรัตน์. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อรสา มาสิงห์. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 13(2), 1-14.
Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Goleman, D. (1998). Working with emotional lntelligence. London: Bloomsbury Publishing.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W, (1970). Determining sample size for research activities. Educational & Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbein, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.
Robbins, T. (2024). Empathetic leadership. Retrieved on April 9, 2023, from https://www.tony robbins.com>What-is-leadership>empathetic-leadership