ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กรอบแนวคิดของเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของเลทวูดและแจนซี่ โดยมีพื้นที่ในการวิจัย คือ สถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 301 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ที่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 ส่วนสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านนั้น พบว่าการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยดังนี้ ด้านการเป็นแบบอย่างที่เหมาะสม ด้านการเกื้อกูลการยอมรับเป้าหมายของกลุ่ม ด้านการให้การสนับสนุนผู้ตามเป็นรายบุคคล ด้านการคาดหวังการปฏิบัติงานของผู้ตามในระดับสูง ด้านการระบุวิสัยทัศน์อย่างชัดเจน และด้านการกระตุ้นทางปัญญา ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูจำแนกตามเพศ โดยภาพรวมพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ครูเพศชายมีความคิดเห็นมากกว่าครูเพศหญิง และจำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยครูในสถานศึกษาขนาดกลางมีความคิดเห็นมากกว่าครูในสถานศึกษาขนาดใหญ่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กรวัลล์ แก้วบุดตา และเพชราวลัย ถิระวณัฐพงศ์. (2567). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 9(1), 21-29.
คมสันต์ จันสวาท. (2566). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 372-389.
จรุงจิต สมบัติวงศ์. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารร้อยแก่นสาร, 3(6), 17-30.
ชณันภัสร์ ปิยะภัทรวิรัตน์. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(24), 37-52.
ธัญญามาศ แดงสีดา. (2565) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.
มัณฑนา ชุมปัญญา. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
มาหะมะซาตา เจ๊ะมะ. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอจะแนะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. วารสารการบริหารการศึกษาและครุศาสตร์, 2(1), 62-73.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2562). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชายแดนกัมพูชา. วารสารการบริหารการศึกษา, 11(1), 155-162.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Leithwood, K. & Jantzi, D. (1996). A review of transformational school and leadership research: Leadership and Policy in Schools, 13(7), 510-514.