ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1

Main Article Content

ณภัค พิศาล
สาโรจน์ เผ่าวงศากุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การปฏิบัติงานของครู  และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้กรอบแนวคิดสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาและการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาเป็นกรอบในการวิจัย ซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 จำนวน 294 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามพื้นที่จัดการศึกษา มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
    โดยภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด

  2. การปฏิบัติงานของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด

  3. ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะว่าผู้บริหารสถานศึกษา
    มีสมรรถนะการสื่อสาร สมรรถนะการวางแผนและการบริหารจัดการ สมรรถนะการทำงานเป็นทีม สมรรถนะ
    การปฏิบัติเชิงกลยุทธ์ สมรรถนะการตระหนักรับรู้โลกาภิวัตน์ และสมรรถนะการบริหารตนเอง ที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญสุดา อ่วมสะอาด. (2565). สมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฉัตรวีรยา ธนัชชาอัครสิริ. (2562). สมรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 781-798.

นุสรา พูลสุด. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2),72-85.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบูรี เขต 1. (2566). รายงานประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2567, จาก http://www.suphan1.go.th/suphan1/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาการศึกษา. (2562). เครื่องมือส่งเสริมการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Hellriegel, D., Jackson, S. E. & Slocum, J. W. (2005). Management a Competency-Based Approach. New Delhi: Cengage Learning.

Krejcie, R.V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607–610.