ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการกิจกรรมนักเรียน เพื่อการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซีของนักเรียน โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่

Main Article Content

บัณฑิต อินทรเทพ
ประภัสสร สมสถาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการกิจกรรมนักเรียนเพื่อการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซีของนักเรียน โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการกิจกรรมนักเรียนเพื่อการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซีของนักเรียน โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย เชียงใหม่ การวิจัยนี้ใช้วิธีการแบบผสมผสาน ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยนี้ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านกิจกรรมเพื่อการพัฒนาอุปนิสัย จำนวนทั้งสิ้น 38 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท ได้แก่ 1) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และ 2) แบบสอบถามที่ใช้มาตราส่วนประมาณค่า ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และยังมีการวิเคราะห์เนื้อหาจากผลการสนทนากลุ่มเพื่อให้ได้ข้อเสนอและผลลัพธ์ในการพัฒนากิจกรรมนักเรียนที่สอดคล้องกับการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซี


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการกิจกรรมนักเรียนเพื่อการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซีของนักเรียน โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัยเชียงใหม่ มีอยู่ 5 ด้านโดยมีการพิจารณารายด้าน ดังนี้ด้านการบริหารจัดการอยู่ในระดับมากที่สุด (equation= 4.59) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด (equation= 4.85)
    ด้านกิจกรรมเพื่อการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซีของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (equation = 4.59) ด้านการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด (equation= 4.88)  ด้านการวัดและประเมินผลอยู่ในระดับมากที่สุด (equation= 4.66) โดยมีข้อเสนอเชิงนโยบาย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ มีการทบทวนแผนและโครงสร้างบริหารที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ 5 ปี 2) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน เน้นความสอดคล้องกับความเชื่อศรัทธาและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3) ด้านกิจกรรมเพื่อพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซี มีกิจกรรมเสริมสร้างอุปนิสัยทั้ง 5 ด้าน 4) ด้านการมีส่วนร่วม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และ 5) ด้านการวัดและประเมินผล มีการกำหนดเครื่องมือและนำผลประเมินมาพัฒนาต่อเนื่องแต่ละด้านได้แก่

  2. พบว่าด้านการบริหารจัดการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 ด้านกิจกรรมเพื่อการพัฒนาอุปนิสัยพีอาร์ซีของนักเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.76 ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50  ด้านการมีส่วนร่วม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.95 ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ด้านการวัดและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81 ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ .2542 (ฉบับอัพเดท) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กอร์ดอน ออลพอร์ต. (1936). ทฤษฎีอุปนิสัย. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2566, จาก https://www. novabizz.com/NovaAce /Personality/Theory_Gordon_Allport.htm

ชรินทร์ เกิดพุ่ม. (2564). ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 (สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ชาญชิต ทัพหมี. (2564). รูปแบบการพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณธรรม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ณัฐนนท์ ค้าขาย. (2562). การบริหารจัดการงานกิจกรรมนักเรียนแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทพบดินทร์วิทยาเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ทิพวรรณ สำเภาแก้ว. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

ทิศนา แขมมณี. (2550). การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เกรท เอ็ดดูเคชั่น.

นิพิฐพนธ์ อุไรวรณ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของกลุ่มเครีอข่ายโรงเรียนน้ำหมันหาดล้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ประภัสสร สมสถาน. (2562). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตบริการของนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย. (2565). มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย. เชียงใหม่: โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุจินตนา ตรงประสิทธิ์. (2560). การบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดปัตตานี (การค้นคว้าอิสระครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สุนันท์ รุ่งอรุณแสงทอง. (2561). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดประสิทธิภาพ (วิทยานิพนธ์ดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภัค ยมพุก และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2557). การบริหารสถานศึกษาและการรับรู้การสนับสนุนการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 15-17.

สุวิมล ว่องวานิช. (2562). การวิจัยและประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Kolberg. (1973). ทฤษฎีพัฒนาจริยธรรม. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2566, จาก https://www.baanjomyut. com/library_3/extension-2/ethics/05_2.html