สภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของผู้บริหารสถานศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับสภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำแนกตามตำแหน่ง คุณวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 44 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 29 คน ครูผู้สอน จำนวน 231 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1แบบสอบถามสภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก แบบสอบถามมีค่าความสอดคล้อง (IOC) ตั้งแต่ 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารงานอาคารสถานที่ รองลงมา คือ ด้านการบริหารงานงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการบริหารงานบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 2) การเปรียบเทียบสภาพปัญหาการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 จำแนกตามตำแหน่งคุณวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือดำเนินงานกองทุนเพื่อโครงอาหารกลางวันในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์น.
ชนก แสนติยศ. (2557). การบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่พิเศษสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชัยครุฑ สุพรรณ. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวิทยาลัยศิลปากร.
ทัศนะ ศรีปัตตา. (2564). สภาพและปัญหาการบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 19(28), 192-207.
ไพศาล หวังพานิช. (2560). วิธีการวิจัย. (เอกสารประกอบการสอน). นครราชสีมา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
มาลิณี ดิสกุล. (2553). การดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วันทาศิริ สิงห์สถิตย์. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1 (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564. นครราชสีมา: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3.
สุพัตรา สิมมาลา. (2562). การบริหารงานโครงการอาหารกลางวันนักเรียนตามหลักธรรมาภิบาลกรณีศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตดุสิต (การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวิทยาลัยรามคำแหง.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.