ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เดชาวีย์ นันทธนอัครดี
ตระกูล จิตวัฒนากร
วิโรชน์ หมื่นเทพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร  2. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนผสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม - กันยายน 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน  สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ MRA ผลการวิจัยพบว่า        


  1. การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีระดับการตัดสินใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าด้านการประเมินทางเลือกอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การแสวงค้นหาข้อมูลอยู่ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านหลังการสั่งซื้อ ตามลำดับ

  2. ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่าด้านช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ด้านลักษณะทางกายภาพ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านบุคลากร ตามลำดับ

  3. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok Shop ของผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ จำนวน6 ปัจจัยจาก 7 ปัจจัย ได้แก่ ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน.

ชญานิษฐ์ ฉวีวรรณภักดี และธนกฤต วงศ์มหาเศรษฐ์, 2567).กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางผ่านแพลตฟอร์ม TIKTOK ของเจเนอเรชันวาย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 38(2), 20-35.

ชาพิฆมณฑ์ ทับจันทร์ และนลินี เหมาะประสิทธิ์. (2564). การตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดคราบน้ำผ่าน Facebook ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ในการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปี พ.ศ. 2564 วันที่ 1 เมษายน 2564. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทวีรัชต์ คงรชต. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทสงผลตอพฤตกรรมการซอสนคาผานระบบ ออนไลน์ของคนวัยท างานในจังหวัดนนทบุรี. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 12(16), 40-60.

ธมลวรรณ สมพงศ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าทางออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บัณฑิต จ้อยลี. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี(ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภัคธนัช กลั่นเอม และวรรณกิตติ์ วรรณศิลป์ (2567). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในยุคชีวิตวิถีใหม่. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 6(1), 91-108.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

Bernard, R.L. (1972) Two Genes Affecting Stem Termination in Soybeans. Crop Science, 12, 235-239.

Cochran, W (1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York: Wiley.

Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control. 9th Edition. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

wearesocial. (2566). ข้อมูลเกี่ยวกับ สถิติผู้ใช้ TIKTOK ในกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ.2565. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566, จาก https://wearesocial.com/us/