แนวทางการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 4 และ 2) แนวทางการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กรอบแนวคิดการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นกรอบในการวิจัย โดยมีพื้นที่ในการวิจัย คือ ครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 274 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำแนกตามพื้นที่การจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ในภาพรวมการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก
- แนวทางการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดค่าเป้าหมาย พันธกิจ เป้าประสงค์ของสถานศึกษา 2) ครูมีส่วนร่วมในการวางแผน การประเมินหรือวิเคราะห์สภาพบริบทของสถานศึกษา รวมถึงการแสดงความคิดเห็นและการทำงานเป็นทีมเพื่อการพัฒนาสถานศึกษา และ 3) ครูมีส่วนร่วมในการประเมินผล ติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงานของสถานศึกษาตามแผนปฏิบัติการประจำปีและเขียนรายงานผลการดำเนินงาน ภายใต้การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การประกันคุณภาพการศึกษา กฎกระทรวง พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
จินตนา วงษ์นาค. (2564). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์, 9(2), 123-141.
จำนงค์ จั่นวิจิตร. (2559). การศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วม ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
รจนา แก้วตา. (2561). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาในจังหวัดกำแพงเพชร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
มยุรี วรวรรณ. (2563). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม (การค้นคว้าอิสระศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สายใจ ใฝ่จิต. (2559). แนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาของโรงเรียนโกสัมพีวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(20), 151-162.
สมใจ ยอดปราง. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารราชนครินทร์, 15(34), 187-195.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4. (2565). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2566-2569. กาญจนบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือบริหารจัดการ เวลา เรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Krejcie, R.V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607–610.