การพัฒนารายวิชา “จิตภาวนาแห่งอีอีซี” ในระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดสำหรับมวลชนของมหาวิทยาลัยบูรพา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารายวิชาจิตภาวนาแห่งอีอีซีในระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดสำหรับมวลชนของมหาวิทยาลัยบูรพา 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรายวิชาจิตภาวนาแห่งอีอีซีในระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดสำหรับมวลชนของมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน กำหนดจากประชากรผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สนใจทั่วไปซึ่งมีจำนวนอนันต์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถามด้วยสถิติพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากคำถามปลายเปิดในแบบสอบถามด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) รายวิชาจิตภาวนาแห่งอีอีซีพัฒนาสำเร็จและเผยแพร่ในระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์แบบเปิดสำหรับมวลชนของมหาวิทยาลัยบูรพา มี 6 บทเรียน สื่อวีดิทัศน์ 21 รายการ ชั่วโมงการเรียนรู้ 180 นาที ซึ่งมีค่าความเหมาะสมอยู่ที่ 2.78 จาก 3 ระดับ 2) ความพึงพอใจโดยภาพรวมของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนความเห็นอื่นที่ได้จากคำถามปลายเปิดในแบบสอบถามมีทั้งความเห็นในเชิงลบและบวก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2566, จาก https://www.dop.go.th
กัลยาณี เจริญช่าง และเยาวลักษณ์ พิพัฒน์จำเรญกุล. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(3), 57-67.
ชโรชินีย์ ชัยมินทร์. (2562). MOOC: เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 1(1), 46-70.
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา, อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี และจินตวีร์ คล้ายสังข์. (2566). Work based skill by MOOCs: วิถีการเรียนรู้ใหม่ของคนยุคดิจิทัล. คุรุสภาวิทยาจารย์, 4(3), 40-53.
ดำรัส อ่อนเฉวียง, ดวงพร ธรรมะ และศรินนา ศิริมาตย์. (2565). การศึกษาสภาวะความต้องการการจัดการเรียนการสอนแบบเปิด (MOOCs) สำหรับระเบียบเศรษฐกิจภาคตะวันออก. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 16(3), 174-186.
นภดล เลือดนักรับ และคณะ. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาชน (MOOCs) เพื่อพัฒนากระบวนการสุนทรียสนทนา กระบวนการสะท้อนคิดและกระบวนการฟังอย่าง ลึกซึ้งของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(2), 201-212.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2567). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2567, จาก https://dictionary.orst.go.th/
พิมพ์สุพร สุนทรินทร์. (2567). การพัฒนารายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 7(22), 127-143.
ภูชิศ สถิตย์พงษ์. (2564). MOOC: นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 13(1), 233-246.
มนตรี วิวาห์สุข และวรัญญา ปรีดาธวัช. (2565). หลักสูตรจิตภาวนาแห่งอีอีซี ฉบับพัฒนาหลักสูตร ครั้งที่ 3. ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
มารุต พัฒผล. (2567). การวิจัยและพัฒนาเพื่อการพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรวรรณ องค์ครุฑรักษา. (2021). แนวทางการใช้ MOOC ในการเรียนการสอนแบบผสมผสามรายวิชาการโฆษณาและการสื่อสารการตลาดระหว่างประเทศ. Journal of Rattana Bundit University, 16(1), 50-64.
วิภา เจริญภัณฑารักษ์. (2558). MOOC: การศึกษาฟรีแบบเปิดในยุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 8(2), 1-15.
สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย. (2563). คู่มือชมรมผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. (2556). ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุด้านสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุชาดา บุญเรือง, ภัทรารัช แก้วพลายงาม และพรพนา ศรีสถานนท์. (2564). การตัดสินใจใช้บริการเรียนรู้ในระบบเปิด Thai MOOC. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(38), 241-252.
อนุสรณ์ เกิดศรี. (2564). การวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนในหลักสูตรออนไลน์ระบบเปิด: การประยุกต์ใช้การ เรียนรู้ด้วยเครื่องและการเรียนรู้เชิงลึก. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 2(2), 14-28.
อภิชาต รอดนิยม. (2567). MOOCs: โอกาสใหม่เพื่อการศึกษาในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 11(3), 1-10.
อภิรักษ์ ชัยปัญหา. (2566). การพัฒนารายวิชาพื้นฐานการเขียนบทและการเขียนสื่อความคิดในชีวิตประจำวันในระบบการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) สำหรับกำลังคนพื้นที่ระเบียบเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 48-61.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis, 2nd ed. New York: Harper & Row.