กฤษณาสอนน้องคำฉันท์: คำยืมภาษาเขมรที่สัมพันธ์กับวรรณกรรมคำสอนสตรี

-

ผู้แต่ง

  • สุริยา อินทจันท ภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • พิชญ์วัฒณ์ โสภณปัญญารัศมิ์ ภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

กฤษณาสอนน้องคำฉันท์, คำยืมภาษาเขมร, วรรณกรรมคำสอนสตรี

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ : คำยืมภาษาเขมรที่สัมพันธ์กับวรรณกรรมคำสอนสตรี มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ลักษณะคำยืมภาษาเขมร ที่สัมพันธ์กับวรรณกรรมคำสอนสตรี โดยศึกษาจากวรรณคดีเรื่องกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ ฉบับพระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในด้านลักษณะการยืมคำภาษาเขมรในภาษาไทยและการใช้คำยืมภาษาเขมรในภาษาไทย และศึกษาจากเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพบว่า กฤษณาสอนน้องคำฉันท์เป็นวรรณกรรมคำสอนสตรีที่มีการใช้คำยืมภาษาเขมร โดยมีคำที่ปรากฏในบทประพันธ์อยู่ ๓ ลักษณะ เรียงตามลำดับ ได้แก่ คำราชาศัพท์ คำในภาษาโบราณและวรรณคดี และคำทั่วไปในชีวิตประจำวัน ซึ่งการนำคำยืมภาษาเขมรมาสร้างคำในภาษาไทย และการใช้คำยืมภาษาเขมรในภาษาไทย ได้แสดงถึงอิทธิพลของการนำภาษาเขมรมาใช้ในการประพันธ์วรรณกรรม ทำให้ประเทศไทยมีการใช้คำยืมภาษาเขมรมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อพิจารณาคำพื้นฐานภาษาเขมรและคำพื้นฐานภาษาไทย มีความคล้ายคลึงกัน แสดงถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมด้านภาษา โดยเฉพาะคำทั่วไปในชีวิตประจำวัน ทำให้มีคำยืมภาษาไทยในภาษาเขมรเป็นจำนวนมาก

References

กาญจนา นาคสกุล และคณะ (2553). ภาษาเขมรเพื่อการสื่อสาร. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2544). วรรณคดีอยุธยาตอนต้น ลักษณะร่วมและอิทธิพล. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลลิตา โชติรังสียากุล. (2545). ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย. สงขลา: สถาบันราชภัฏสงขลา.

วัลยา ช้างขวัญยืน และคณะ. (2555). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2: คำ การสร้างคำ และการยืมคำ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู ลาดพร้าว.

สุภัคลักขณา. (2521). กฤษณาสอนน้อง. กรุงเทพฯ: ป. พิศนาคะการพิมพ์.

อนุมานราชธน, พระยา. (2532). ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

อุไรศรี วรศะริน. (2553). ร่องรอยภาษาเขมรในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุบล เทศทอง (2558). ภาษาเขมรเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04