รูปแบบจังหวะกลองชุดประกอบการเต้นลีลาศในประเทศไทย

-

ผู้แต่ง

  • จีรวัฒน์ แสงอนันต์ ภาควิชาดุริยางคศิลป์ศึกษา คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การเต้นลีลาศ, ลีลาศเพื่อนันทนาการ, จังหวะบอลรูม, จังหวะลาตินอเมริกัน, จังหวะเบ็ดเตล็ด

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบจังหวะกลองชุดประกอบการเต้นลีลาศในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบจังหวะกลองชุดประกอบการเต้นลีลาศในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการนำรูปแบบจังหวะกลองชุดในประเภทจังหวะบอลรูม ประเภทจังหวะลาตินอเมริกัน และประเภทจังหวะเบ็ดเตล็ด มาใช้บรรเลงประกอบการเต้น เพื่อการนันทนาการ โดยการเต้นลีลาศประเภทนี้จะต้องมีวงดนตรีบรรเลงประกอบในการเต้น มือกลองชุดจึงมีบทบาทที่สำคัญในเรื่องการรักษาจังหวะให้สม่ำเสมอและสัมพันธ์กับท่าทางของผู้เต้น ปัจจุบันการเต้นลีลาศมีความนิยมลดน้อยลงทำให้วงดนตรีที่เล่นประกอบการเต้นลีลาศลดน้อยลงไปด้วยเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีบทเพลงที่ใช้รูปแบบประเภทจังหวะดังกล่าว อยู่ในปัจจุบัน จากความนิยมที่ลดลงจึงทำให้รูปแบบจังหวะประเภทดังกล่าวไม่ได้นำไปใช้ในการฝึกซ้อมหรือนำไปอยู่ในการเรียนการสอนกลองชุด จึงมีมือกลองไม่มากนักที่สามารถตีกลองโดยมีความเข้าใจในลักษณะประเภทของจังหวะแต่ละรูปแบบและสามารถถ่ายทอดบทเพลงโดยเข้าถึงอารมณ์ของเพลงได้ ดังนั้นครูผู้สอนกลองหรือมือกลองควรนำแบบฝึกหัดประเภทจังหวะบอลรูม ประเภทจังหวะลาตินอเมริกัน และประเภทจังหวะเบ็ดเตล็ด มาใช้ในการฝึกฝนและเพิ่มเติมในการเรียนการสอนกลองชุด เพื่อเพิ่มทักษะในการตีกลองชุดในประเภทจังหวะดังกล่าวให้มีความเข้าใจ และสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอดประยุกต์ใช้ในการตีกลองในลักษณะเพลงที่หลากหลาย

References

กมลธรรม เกื้อบุตร. (2558). “ล้วน ควันธรรม : การกำเนิดเพลงลีลาศรูปแบบไทย”. วารสารดนตรีและการแสดง, 1, 2: 124-126.

ธงชัย เจริญทรัพย์มณี. (2542). ลีลาศ. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิชิต ภูติจันทร์. (2546). ลีลาศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ไพรัช มากกาญจนกุล. (2535). การตีกลองชุด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เจริญดี.

สมศักดิ์ สร้อยระย้า. (2538). เครื่องเคาะตี (Percussion). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04