การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศิลปศึกษา วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน ร่วมกับแอปพลิเคชันคาฮูท

-

ผู้แต่ง

  • ปัติมา โฆษิตเกษม ภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน , แอปพลิเคชันคาฮูท , การศึกษาระดับปริญญาตรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และวิเคราะห์
ค่าดัชนีประสิทธิผล ก่อนและหลังการใช้การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน ร่วมกับแอปพลิเคชันคาฮูท 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันคาฮูท กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาศิลปศึกษา ชั้นปีที่ 2 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลังการใช้การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันคาฮูท สูงกว่าก่อนการใช้  โดยมีค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.6916  และ 2) นักศึกษามีระดับความพึงพอใจหลังการใช้การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับแอปพลิเคชันคาฮูท อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\dpi{50}&space;\fn_phv&space;\huge&space;\bar{x}= 4.69)

References

เกศินี อุปการแก้ว (2562). ผลของวิธีการสอนโดยใช้แอพลิเคชันคาฮูท (Kahoot) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านไร่บน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). การออกแบบพัฒนาโปรแกรมบทเรียนและบทเรียนบนเว็บ (พิมพ์ครั้งที่ 14). มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563). “การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา”. The Journal of Chulabhorn Royal Academy, 2, 3: 1-17.

ปิยวรรณ กระมุท. (2565). การใช้แอพพลิเคชั่น คาฮูท Kahoot เพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการบัญชีปีการศึกษา 2565. ประจวบคีรีขันธ์: วิทยาลัยการอาชีพบางสะพาน สถานบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 5.

รุ่งโรจน์ ศรีจันทร์แก้ว, ปกรชัย เมืองโคตร และนลิตา ภูสีฤทธิ์. (2565). “ผลของการใช้แอปพลิเคชันคาฮูท (Kahoot) ที่มีต่อพุทธิพิสัยด้านความรู้ความจํา เรื่องพื้นฐานอัตราส่วนตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3”. วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา, 1, 1: 1-15.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2558). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิทยา วาโย และคณะ. (2563). “การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน”. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 9, 14: 285-298.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย. (2566). Kahoot. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2566. เข้าถึงจาก https://active-learning.thailandpod.org/digital-tools/Kahoot

สุปราณี พลธนะ. (2563). “เกมการศึกษา Kahoot : แนวทางการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลในยุคดิจิทัลของวิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ”. วารสารแพทย์นาวี, 47, 2: 478-490.

McGrath, J.R., & MacEwan, G. (2011). “Linking pedagogical practices of activity-based teaching”. TheInternational Journal of Interdisciplinary Social Sciences, 6, 3 : 261-274.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04