ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนสกล ชุม สินธุ์

-

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ และสถาบันนวัตกรรมทางการศึกษา สมาคมส่งเสริมการศึกษาทางเลือก
  • ศุภชัย โพธิ์ศรี ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีภาคตะวันออกแห่งสุวรรณภูมิ และสถาบันนวัตกรรมทางการศึกษา สมาคมส่งเสริมการศึกษาทางเลือก

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร, การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ, การสื่อสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนสกล ชุม สินธุ์ และ 2) เพื่อศึกษาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนสกล ชุม สินธุ์ ประชากร ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนสกล ชุม สินธุ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 150 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 108 คน โดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในสถานศึกษา กลุ่มโรงเรียนสกล ชุม สินธุ์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ กล้าท้าทายต่อกระบวนการ เป็นต้นแบบนำทาง เพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานให้ผู้อื่น สร้างแรงบันดาลใจวิสัยทัศน์ร่วมกัน และสร้างขวัญกำลังใจ 2) การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนสกล ชุม สินธุ์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก   โดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ พัฒนาระบบ ICT เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการบริการ ยกระดับความสามารถของผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาในการใช้ ICT
เพื่อการศึกษา พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ ตลอดชีวิต สนับสนุนระบบการเรียนการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาผู้เรียน และส่งเสริมการวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการศึกษา

References

จีรนาถ ภูริเศวตกำจร, พรณภัทร์ พงษ์วรัชญ์พร และสุรวิทย์ พลมณี. (2565). “คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการทำงานเป็นทีมของบุคลากรโรงเรียน บ้านโสน (พิทยศึกษา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 1”. วารสารการบริหารและพัฒนาวิทยาลัยพิชญบัณฑิต, 5, 1: 157-162.

ปณิดา สุภารมย์ และกุหลาบ ปุริสาร. (2566). “แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5”. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13, 1: 128-142.

ปิยะวัฒน์ มณีภาค, นเรศ ขันธะรี และพงษ์ธร สิงห์พันธ์. (2566). “อนาคตภาพภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาไทยใน ทศวรรษหน้า (พ. ศ. 2563-2573)”.วารสารปัญญาภิวัฒน์, 15, 1: 252-265.

พระปลัดชัยรัตน์ ปิยสีโล (เกตุสุวรรณ์). (2565). “ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงยุควิถีชีวิตใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา”. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา, 7, 1: 37-52.

พีรพัฒน์ พรสิริโภคากุล. (2564). “แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนข้อมือเหล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาตาก เขต 2”. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น, 8, 3: 1-15.

วัชรากรณ์ เบ้าจันทึก และถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข. (2558) “บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38, 1: 175-181.

ศิลปิน ทิพย์นพคุณ. (2566). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์”. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7, 1: 202-216.

สันติ พิณรัตน์ และกุหลาบ ปุริสาร. (2566). “แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 2”. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13, 1: 70-83.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในสถานศึกษา พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุรศักดิ์ เวียนรอบ และวลัยพร ศิริภิรมย์. (2557). “การศึกษาสมรรถนะการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1”. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9, 3: 204-215.

Kouzes, J. M., & Posner, B. Z. (2012). The leadership challenge: How to make extraordinary things happen in organizations. San Francisco: Jossey-Bass.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30, 3: 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04