การพัฒนารูปแบบการโค้ชร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวกที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการประเมินของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

-

ผู้แต่ง

  • ทิพอนงค์ กุลเกตุ ภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

รูปแบบการโค้ช, การให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวก, สมรรถนะการประเมิน, นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการโค้ชร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวกที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการประเมินของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการโค้ชร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวกที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการประเมินของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 5 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย แบบประเมินสมรรถนะทางการประเมิน และแบบประเมินความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 จนถึงเดือนมีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจงนับความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการโค้ชร่วมกับกระบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวกที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการประเมินของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู (GROW Model) มี 4 ขั้นตอนดังนี้  (1) G-Goal เป้าหมาย (2) R-Real ความเป็นจริง (3) O-Option ทางเลือกและ (4) W-Will ความตั้งใจ 2) ประสิทธิผลของรูปแบบการโค้ชร่วมกับกระบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวกที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการประเมินของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ประกอบด้วย

1) ความสามารถด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\dpi{50}&space;\fn_phv&space;\huge&space;\bar{x}= 4.51, S.D. = 0.51)

2) ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้รูปแบบการโค้ชร่วมกับการให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวกในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\dpi{50}&space;\fn_phv&space;\huge&space;\bar{x}= 4.53, S.D. = 0.50)

References

ขวัญเกื้อ แสงแก้ว. (2565). “การพัฒนารูปแบบการโค้ชโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูภาษาไทย ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10”. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4, 2: 53-66.

ขอบฟ้า จันทร์เจริญ วราภรณ์ ไทยมา และ ภัทราวดี มากมี. (2564). “แนวทางในการผลิตนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูฐานสมรรถนะ”. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 12, 1: 151-166.

ชัยมงคล ปินะสา รณธิชัย สวัสดิ์ และกฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2565). “การสร้างความสามารถทางการประเมิน : แนวคิดและการประยุกต์ใช้”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 20, 1: 76-94.

เบญจมาศ พุทธิมา. (2561). “การพัฒนาสมรรถนะการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการศึกษาของครูผู้สอนโดยใช้เทคนิคการเสริมพลังอำนาจ”. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 8, 14: 57-72.

พระมหาณรงค์ราช ครองเชื้อ. (2565). “การพัฒนารูปแบบการโค้ชแบบพหุวิธีเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้อริยสัจเป็นฐานของพระสอนศีลธรรม”. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 7, 1: 172-186.

พินดา วราสุนันท์. (2558). “การพัฒนาความสามารถทางการวัดและประเมินผลและการวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยกระบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวก”. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 9, 1: 75-89.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

______. (2564). การประเมินการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิไลภรณ์ คำมั่น, ฟารีดา หีมอะด้ำ และกฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2564). “การประเมินแบบเสริมพลัง: การประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การประเมินผลการเรียนรู้ สู่ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40, 6: 54-67.

วิวัฒน์ อ้นน่วม และคณะ. (2559). “รูปแบบการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18, 3: 292-302.

วิสุทธิศักดิ์ หวานพร้อม และเกวลี วัชราทักษิณ (2564). “การพัฒนาการโค้ชเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียน”. วารสารสังคมศษสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6, 12: 669-684.

วิหาญ พละพร, ธีรวุฒิ เอกะกุล และวรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2557). “รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินการคิด สำหรับครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15, 2: 74-84.

สุวิมล สพฤกษ์ศรี. (2561). ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพโดยผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2550). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

Beaumont, C., O’ Doherty, M. & Shannon, L. (2011). “Reconceptualising assessment feedback: a key to improving student learning”. Studies in Higher Education, 36, 6: 671-687.

Hattie, J. & Timperley, H. (2007). “The power of feedback”. Review of Educational Research, 77, 1: 81-112.

Li, J. & Luca, R.D. (2012). “Review of assessment feedback”. Studies in Higher Education, 37, 1: 1-16.

Sweeny, W. (2007). Leading the Teacher Induction and Mentoring Program. 2ndedition. Sage Publications Ltd: United State of America.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04