กลองเต่งถิ้งในวัฒนธรรมดนตรีล้านนา

-

ผู้แต่ง

  • รัชชาภัท มาลาทอง ภาควิชาดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

กลองเต่งถิ้ง, ดนตรีล้านนา, วัฒนธรรมล้านนา, กลอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะทางดนตรีและบทบาทหน้าที่ของกลองเต่งถิ้งในวัฒนธรรมล้านนา และศึกษาขั้นตอนการสร้างกลองเต่งถิ้ง ผลการวิจัยพบว่า กลองเต่งถิ้ง มีเสียงที่ทุ้มต่ำและดัง มี 2 หน้า หน้าใหญ่มีเสียงดัง “ถิ้ง” ส่วนหน้าเล็ก มีเสียงดัง “เต่ง” กลองเต่งถิ้ง มีบทบาทเป็นประธานของวง ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับกลอง “เต่งถิ้ง” หรือกลอง “เต่งทิ่ง” เรียกชื่อตามเสียงกลองที่ใช้บรรเลงคู่กับกลองป่งโป้ง ด้วยแบบแผนหน้าทับเฉพาะตัวในวงพาทย์ก๊องหรือวงปี่พาทย์ของล้านนา มีลักษณะเหมือนตะโพนมอญ กลองเต่งถิ้งมีขั้นตอนการสร้างทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการคัดเลือกไม้ให้ได้ขนาด 2) ขั้นตอนการกลึงหุ่นกลอง 3) ขั้นตอนการเจาะหุ่นกลองให้ทะลุทั้งสองด้าน 4) ขั้นตอนการทำขากลอง โดยการทำหนังกลอง มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนการตากหนัง 2) ขั้นตอนการนำหนังที่แห้งแล้วมาตัดเป็นวงกลม 3) ขั้นตอนการยืดหนัง 4) ขั้นตอนการขูดหนังกลองด้านใน 5) ขั้นตอนการขูดขนกลอง 6) ขั้นตอนการเจาะรูหนัง และขดลวดเป็นวงกลม และ7) ขั้นตอนร้อยคร่าวหูหิ่ง ซึ่งการทำหนังเพื่อขึ้นหน้ากลองในแต่ละขั้นตอนผู้ทำจะต้องมีความละเอียด ประณีตและใช้เวลา เพื่อให้แผ่นหนังออกมาดี มีความสมบูรณ์ และเกิดความสวยงาม

References

กรมศิลปากร. (2522). ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย. กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์.

ณัฐพงศ์ ปันดอนตอง. (2553). ดนตรีประกอบพิธีกรรมการฟ้อนผีมด ผีเม็ง : กรณีศึกษาวงป้าดเมืองคณะวัดเชียงยืน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขามนุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2528). ประวัติเครื่องดนตรีไทย และตำนานการผสมวงมโหรี ปี่พาทย์ และเครื่องสาย. กรุงเทพฯ: จันวาณิชย์.

ปัญญา รุ่งเรือง. (2546). ประวัติการดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พิพัฒน์พงศ์ มาศิริ. (2552). ป้าดก๊อง: วงปี่พาทย์ล้านนาในบริบทสังคมเชียงใหม่ปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

สรายุธ รอบรู้ และสืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ. (2557). การจัดการอนุรักษ์และพัฒนาวงปี่ พาทย์ล้านนา เพื่อการสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่. ใน 50 ปี มข. แห่งการอุทิศเพื่อสังคม. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 (น. 2219-2226). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานจังหวัดลำพูน. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมาจังหวัดลำพูน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565. เข้าถึงจาก https://www.lamphun.go.th/th/information

อุทาน บุญเมือง, เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี และสุชาติ แสงทอง. (2561). “ป้าดก๊องล้านนา : การสืบทอด และการประสมวง”. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10, ฉบับพิเศษ: 201-212.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04