การวิเคราะห์ทำนองขับบทหน้าปรายหนังกระแทกหยวก คณะลูกหลานบางปิดศิษย์สร้อยแสง จังหวัดตราด

-

ผู้แต่ง

  • วุฒิเดช คีรีแลง นักศึกษาหลักสูตรศิลปดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • นพคุณ สุดประเสริฐ ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • สุพรรณี เหลือบุญชู สาขาดุริยางคศิลป์ โครงการบัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ทำนองขับ, บทหน้าปราย, หนังกระแทกหยวก, การวิเคราะห์ทำนองเพลง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ทำนองขับบทหน้าปรายหนังกระแทกหยวก คณะลูกหลานบางปิดศิษย์สร้อยแสง จังหวัดตราด เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทำนองขับบทหน้าปรายหนังกระแทกหยวกของคณะลูกหลานบางปิดศิษย์สร้อยแสง จังหวัดตราด ผลการวิจัยพบว่า ทำนองคำร้องที่ปรากฏในทำนองขับบทหน้าปรายของคณะลูกหลานบางปิดศิษย์สร้อยแสง จังหวัดตราด ประกอบไปด้วยเสียงของวรรณยุกต์ ทั้ง 5 เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา โดยเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 5 เสียงนี้ เป็นตัวแปรสำคัญในการออกเสียงของทำนองขับบทหน้าปราย ซึ่งในการออกเสียงของคำต่าง ๆ การผันเสียง หรือแม้กระทั่งการออกแบบคำร้องก็จะต้องยึดหลักของเสียงวรรณยุกต์และบันไดเสียงเป็นสำคัญ ทำนองขับบทหน้าปรายหนังกระแทกหยวก คณะลูกหลานบางปิดศิษย์สร้อยแสง จังหวัดตราดพบว่าใช้บันไดเสียงเร (รมฟ X ลท X) และพบว่าเมื่อยึดเสียงของวรรณยุกต์และบันไดเสียงเป็นหลักแล้วคำที่มีเสียงวรรณยุกต์ เสียงสามัญ และเสียงเอก สามารถออกเสียงได้เป็นปกติ ส่วนคำที่เป็นวรรณยุกต์เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา เมื่อออกเสียงตามทำนองขับบทหน้าปรายแล้วจะมีเสียงเพี้ยนไปจากเดิม

References

กวีทัศน์ อะโสต และขำคม พรประสิทธิ์. (2561). “ดนตรีสำหรับการแสดงหนังตะลุงคณะครูบุญส่ง ไกรเดช จังหวัดระยอง”. วารสารศิลปกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 5, 2: 9-15.

เขมนิจ รัตนเดชาภิวัฒน์. (2554). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมการขับร้องประสานเสียง ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จตุพร สีม่วง. (2561). คีตประพันธ์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

บัญชา อาษากิจ. (2550). ดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงคณะสุชาติ ทรัพย์สิน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาดนตรีชาติพันธุ์วิทยา ภาควิชาศิลปนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พงศธร สุธรรม. (2555). วิเคราะห์ดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงคณะ ส.ศิษย์กระบกขึ้นผึ้งจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2560). อนุสรณ์ชาตกาล 100 ปี ครูอาคม สายาคม 26 ตุลาคม 2560 (รวมงานนิพนธ์ของนายอาคม สายาคม ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ กรมศิลปากร) (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ไทภูมิ พับลิชชิ่ง.

อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2547). เพลงบอกบุญ จังหวัดตราด : กลวิธีโน้มน้าวใจและบทบาทต่อสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04