อรรถาธิบายงานสร้างสรรค์ บทประพันธ์เพลง “ลั่วโปย กว๊าน โมน สกาย”

-

ผู้แต่ง

  • อัมรินทร์ แรงเพ็ชร ภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

มอญ, บางไส้ไก่, การสร้างสรรค์, บทประพันธ์เพลง

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์เพลง ชุด “ลั่วโปย กว๊าน โม่น สกาย” ชื่อเพลงเป็นภาษามอญ ที่มีความหมายว่า “การร่ายรำของชาวมอญบางไส้ไก่” ผู้ประพันธ์มีความสนใจที่จะประพันธ์เพลงไทยสำเนียงมอญ เพื่อเป็นการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชาวมอญในรูปแบบของงานสร้างสรรค์ทางดนตรี โดยมีแรงบันดาลใจมาจากประวัติความเป็นมาและวิถีชีวิตของชาวมอญในพื้นที่บางไส้ไก่ แนวคิดในการประพันธ์เพลงคือการสร้างสรรค์เพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาใหม่จำนวน 4 เพลง บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีมอญที่เรียกว่า วงปี่พาทย์มอญ และใช้วิธีการบรรเลง (มือฆ้อง) แบบดั้งเดิม การสร้างสรรค์เพลงมีการวิเคราะห์บันไดเสียงที่นำมาใช้ในการบรรเลง คือ บันไดเสียง ด ร ม ซ ล เป็นบันไดเสียงหลัก บางเพลง มีการเปลี่ยนไปใช้บันไดเสียง ซ ล ท ร ม และใช้เสียง ฟ เป็นเสียงจร เพื่อทำให้ทำนอง มีสำเนียงของความเป็นเพลงมอญแบบดั้งเดิม รูปแบบของทำนองและโครงสร้างในการบรรเลง มีความเชื่อมโยงและสื่อถึงประวัติความเป็นมา ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวมอญในชุมชนบางไส้ไก่ และวัดประดิษฐาราม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยวางโครงสร้างของเพลงและรูปแบบการบรรเลงออกเป็น 4 เพลง ที่มีท่วงทำนองที่แตกต่างกัน ในแต่ละเพลง มีทำนองที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ ของชาวมอญ ได้แก่ เพลงที่ 1 เป็นเพลงที่มีท่วงทำนอง ที่สะท้อนให้เห็นถึงภาพการอพยพโยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาสู่ประเทศไทยของชาวมอญ เพลงที่ 2 สื่อถึงการลงหลักปักฐานและการดำเนินชีวิตของชาวมอญในอดีต เพลงที่ 3 สื่อถึงวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวมอญ เพลงที่ 4 มีท่วงทำนองที่สื่อถึงการละเล่นของชาวมอญที่สนุกสนาน และวิถีชีวิตของชาวมอญรุ่นใหม่ ทั้ง 4 เพลง จะใช้เวลารวม 12 นาที

References

จารุวรรณ ขำเพชร. (2561). นาครมิติ : ชาติพันธุ์วรรณา ว่าด้วยเมืองและมนุษย์. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

_____. (2561). ภูมิทัศน์ชาติพันธุ์ แผนที่ชุมชนชาติพันธุ์ในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ทีมงานทรูปลูกปัญญา. (2564). ประวัติศาสตร์ไทยฉบับย่อ - สมัยกรุงธนบุรี. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2564. เข้าถึงจาก https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/383

ปกรณ์ หนูยี่ และขำคม พรประสิทธิ์. (2566). “การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์: ตับเรื่องกัลยาณมิตร”. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 18, 2: 72-87.

วราห์ โรจนวิภาต. (2564). วัยเก๋าเล่าเรื่องฝั่งธนฯ วิวิธวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

ศิลปวัฒนธรรม. (2566). เปิดเส้นทางทายาทฆ้องมอญ บรรพบุรุษแบกพาทย์ฆ้องหนีพม่า จากเมืองมอญถึงปทุมธานี. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 30 มิถุยายน 2566. เข้าถึงจาก https://www.silpa-mag.com/culture/article_10431

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04

ฉบับ

บท

บทความงานสร้างสรรค์