ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด ปีการศึกษา 2564 จำนวน 297 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ .89 และการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เท่ากับ .76 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สามารถพยากรณ์การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาได้ร้อยละ 24 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ = 2.60** + .39**X และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ
y = .49** Zx
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมายเป็
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์
References
เจษฎา ถังเงิน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับประสิทธิผลการทำงานของโรงเรียนในอำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 13 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปิยพร บุญใบ. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542,(19 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก.
พินิจ นันทเวช. (2561). สภาพการปฏิบัติ และประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. ปริญญานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิพัฒน์พงษ์ วิเศษ. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหาร งานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปี 2564. ตราด :
กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563 ก). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฏกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนเทรดดิ้ง.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563 ข). การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ :
ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนเทรดดิ้ง.
Chell, J. (2001). Introducing Principal to the Role of Instructional Leadership: A Summary of Master's Project. New York: McGraw - Hill.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activi - ties” Educational and Psychological Mea- surement. 30, 607 – 610.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Educational and Psychological Measurement. New York: Minnesota University.
Perkey, S.C., and Smith, M.S. (January 1993). "Effective Schools: A Review," Elementary School Journal. 83 (1): 114.