การพัฒนาตัวชี้วัดการคุกคามทางเพศในประเทศไทย

Main Article Content

นิธินาถ คงเคว็จ
เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล
ศุภกร ปุญญฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวชี้วัดในระดับสากลของการคุกคามทางเพศ และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาตัวชี้วัดการคุกคามทางเพศที่เหมาะสมในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีความรู้หรือประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องกับการคุกคามทางเพศไม่ต่ำกว่า 5 ปีขึ้นไป ในหน่วยงานของรัฐ มูลนิธิหรือหน่วยงานเอกชน และนักวิชาการ จำนวน 20 ท่าน จากนั้นนำผลการวิจัยมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบการพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดที่องค์การสหประชาชาติกำหนดไว้จำเป็นต้องมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทสังคมไทย โดยมีการปรับให้เหมาะสม ดังนี้ ตัวชี้วัดที่ 1 การข่มขืน พยายามข่มขืน ตัวชี้วัดที่ 2 การกระทำทางกายภาพ ตัวชี้วัดที่ 3 การถ่ายรูปหรือถ่ายคลิปวิดีโอผู้อื่นในทางเพศ ตัวชี้วัดที่ 4 การแสดง ส่งต่อ เผยแพร่สื่อทางเพศ และตัวชี้วัดที่ 5 การกระทำท่าทาง กิริยา วาจา และการนิยามการคุกคามทางเพศของสังคมไทย หมายถึง การกระทำต่อผู้อื่นในทางเพศที่ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกกังวลใจ อึดอัดใจ เป็นการกระทำต่อผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม ถูกบังคับ หรือใช้อำนาจทางสังคมมาข่มเหงรังแก รวมถึงการยินยอมโดยมีผลประโยชน์เข้ามาร่วมด้วย เช่น การข่มขืน การกระทำอนาจาร การถ่ายรูปหรือถ่ายคลิปวิดีโอผู้อื่นในทางเพศ การแสดง ส่งต่อ เผยแพร่สื่อทางเพศทั้งของตนเองและผู้อื่น การส่งสัญลักษณ์ทางเพศ การถ้ำมอง การกระทำทางวาจา อากัปกิริยา และข้อความ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใด เกิดขึ้นกับบุคคลใดก็ตาม


ข้อเสนอแนะคือ การผลักดันให้รัฐออกกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการคุกคามทางเพศ จะสามารถปกป้องผู้ที่ตกเป็นผู้ถูกกระทำ และสามรถลงโทษเอาผิดผู้กระทำได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรญดา เกิดศรี. (2560). ขอบเขตความรับผิดเกี่ยวกับเกี่ยวกับการแสดงอนาจารในกฎหมายอาญาไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไทยรัฐออนไลน์. (2566). ทุกๆ วัน เด็กและเยาวชน หนึ่งคนถูกล่วงละเมิดทางเพศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2567 จาก https://www.thairath.co.th/scoop/infographic/2747666#

นภาพร พานิชชาติ. (26 กันยายน 2562). ผู้หญิง 86% ถูกคุกคามทางเพศ #ทีมเผือก ชวนปักหมุดพื้นที่เสี่ยง. เดลินิวส์, 12.

พรรษาวดี คล้อยระยับ. (2563). การป้องกันการตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศของเด็กในโลกออนไลน์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งโรจน์ สมบุญเก่า. (2565). มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลชี้ ถึงเวลาปฏิรูปตำรวจ เยียวยาอย่างเป็นระบบ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ยอมรับทั่วประเทศยังขาดความเข้าใจ เตรียมเสนอรับพนักงานสอบสวนหญิงเพิ่ม บูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วน. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2565 จาก https://theactive.net/news/law-right-20220526/.

สุริศา นิยมรัตน์. (2560). ความผิดทางอาญา: กรณีการคุกคามทางเพศ. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์. 7(2), 133-162.

สุทินา วิรุฬห์วชิระ. (2566). เพศชายกับการถูกคุกคามทางเพศในสถานบันเทิง กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 49(2), 117-130.

Lim S. C., Ghani F. & Remme M. (2018). Policy brief: Sexual Harassment: A Global Problem.

United Nations University, International Institute for Global Health, Kuala Lumpur (Malaysia)

UN Women. (2019). Table of Sexual Harassment Behavior. Retrieved on May 30, 2022 from

https://asiapacific.unwomen.org/en/digital-library/publications/.

UN Women. (2021). MEASURING THE SHADOW PANDEMIC: VIOLENCE AGAINST WOMEN DURING COVID-19. Retrieved on May 30, 2022 from https://data.unwomen.org/publications/vaw-rga.