การฟื้นตัวของประเทศไทยสู่ความยั่งยืนทางการคลัง ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

Main Article Content

สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ
สิทธิศักดิ์ ไชยสุข
ยุรีพรรณ วณิชโยบล
กัญญ์ภัคพิมพ์ มนูญผล

บทคัดย่อ

ความยั่งยืนทางการคลังเป็นแนวคิดและเป้าหมายสำคัญของนโยบายทางการคลังเพื่อรักษาเสถียรภาพ ในระยะปานกลางและระยะยาว รัฐบาลจำเป็นต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด ทั้งในด้านการจัดหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ เพื่อให้ฐานะทางการคลังของรัฐมีเสถียรภาพและมั่นคงอย่างยั่งยืน จากการพยากรณ์ข้อมูลด้านรายได้และหนี้สาธารณะของประเทศในอีก 3 ปีข้างหน้า (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2566) โดยอ้างอิงข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี ข้อมูลตั้งแต่ปีงบระมาณ พ.ศ. 2554 - 2563 และการพยากรณ์ข้อมูลด้านงบประมาณของประเทศในอีก 3 ปีข้างหน้า (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2568)
โดยอ้างอิงข้อมูลย้อนหลัง 11 ปี ข้อมูลตั้งแต่ปีงบระมาณ พ.ศ. 2555 - 2565 พบว่า การพยากรณ์ข้อมูล
ด้านการคลังทั้ง 3 ด้าน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสถานะการคลังด้านรายได้ในปี 2563 ลดลงคิดเป็นร้อยละ 10.01 เมื่อเทียบกับปีก่อน สถานะการคลังด้านงบประมาณในปี 2565 ลดลงคิดเป็นร้อยละ 5.66 เมื่อเทียบกับปีก่อน และสถานะการคลังด้านหนี้สาธารณะในปี 2563 เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับปีก่อน และการประเมินวินัยการเงินการคลังของรัฐพบว่า วินัยการเงินการคลังทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยกฎเกณฑ์ทางการคลังที่มักพบความผิดปกติ ได้แก่ กฎเกณฑ์ที่มีค่าเป้าหมายรายได้เข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งตั้งไว้สูงกว่าเมื่อเทียบกับรายได้สุทธิที่สามารถจัดเก็บได้จริง โดยเมื่อวิเคราะห์แนวโน้มการฟื้นตัวของประเทศไทยสู่ความยั่งยืนทางการคลังภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า การเพิ่มช่องทางในการหารายได้ใหม่ ประกอบกับการบริหารงบประมาณรายจ่ายอย่างรัดกุมและมีคุณภาพ ได้แก่ (1) กระจายอำนาจสู่คลังท้องถิ่น (2) ระดมทรัพย์สินลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ (3) ประเทศไทยโปร่งใส: ยกระดับ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (4) พิชิตเงินสกุลดิจิทัล เป็นแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีซึ่งประเทศไทยสามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้สามารถชำระหนี้สาธารณะที่ก่อขึ้นได้ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จรัส สุวรรณมาลา. (2558). การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นบนเส้นทางการกระจายอำนาจของไทย. ใน สถาบันพระปกเกล้า, ดุลอํานาจ ในการเมืองการปกครองไทย (หน้า 205-234). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. https://www.kpi.ac.th/

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (มกราคม 2562 ). บริการทางการเงินดิจิทัลและนัยต่อการดําเนินนโยบายการเงินของไทย. https://www.bot.or.th/

นพดล วิยาภรณ์ และ เอกพร รักความสุข. (2562). การบริหารการพัฒนาโครงการพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ศึกษากรณี : พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC. กรุงเทพฯ : วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2), 95-109.

ศาสตรา สุดสวาสดิ์ และ ประสพโชค มั่งสวัสดิ์. (มีนาคม 2555). ระดับหนี้สาธารณะของประเทศไทยกับวิกฤติหนี้. กรุงเทพฯ : Thammasat Economic Journal, 30(1).

สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2564). แนวทางการป้องกันและลดความสูญเสียงบประมาณจากการทุจริต. https://www.parliament.go.th/

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). รายงานวิเคราะห์ของสำนักงบประมาณ ฉบับที่ 3/2563. https://dl.parliament.go.th/

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2562). รายงานสถานการณ์ด้านการคลังปีงบประมาณ 2563. https://www.fpo.go.th/

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (ม.ป.ป.). รู้จักกับเงินสกุลดิจิทัล (Getting to Know Cryptocurrency). https://www.depa.or.th/

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศ จากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: รายงานการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศ จากผลการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย. https://www.nesdc.go.th/

อรทัย ก๊กผล. (2559). Urbanization เมื่อ “เมือง” กลายเป็นโจทย์ของการบริหารจัดการท้องถิ่นสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

International Monetary Fund (IMF). (April 2021). Fiscal Monitor: A Fair Shot. Washington. https://www.imf.org/

Tanzi, V. (2006). Making Policy Under Efficiency Pressures. Globalization, Public Spending and Social Welfare. In I. Kaul, & P. CONCEIÇÃO, The New Public Finance. Response to Global Challenges (pp. 109-130). New York: Oxford University Press.

The World Bank. (2005). Fiscal Sustainability in Theory and Practice. (C. Burnside, Ed.) Washington, D.C.: The World Bank. https://www.worldbank.org

Transparency International. (2020). Corruption Perceptions Index 2020. https://www.transparency.org/

en/cpi/2020/index/tha

UNCTAD. United Nations. (2020, May). Investment Policy Responses to the COVID-19 Pandemic. Investment Policy Monitor (Special Issue No.4). https://unctad.org/

United Nations. (September 2020). Financing for Development in the Era of COVID-19 and Beyond Part II. https://www.un.org/