การพัฒนาประสิทธิภาพการใช้ภาษาไทยเพื่องานสอบสวนสำหรับตำรวจในสถานการณ์ปัจจุบัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาประสิทธิภาพการใช้ภาษาไทยในงานสอบสวนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน
นายร้อยตำรวจ เก็บข้อมูลโดยการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ พนักงานสอบสวน อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญทางการสอนภาษาไทย และนักเรียนนายร้อยตำรวจ จำนวน 12 คน เครื่องมือการวิจัยคือแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานสอบสวนต้องได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านภาษาไทยให้ครบทั้ง4 ด้าน ได้แก่ ทักษะการเขียน การพูด การฟัง และการอ่าน โดยเฉพาะทักษะการเขียนต้องมีประสิทธิภาพ
6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านเนื้อหา (2) ด้านการใช้ไวยากรณ์ (3) ด้านลีลาการเขียน (4) ด้านกลไกการเขียน(5) ด้านการใช้คำศัพท์ และ (6) ด้านความสัมพันธ์ของข้อความ ผนวกรวมกับความสามารถการเขียนตามหลักการใช้ภาษาไทยเพื่อใช้ในการเขียนสำนวนสอบสวน 4 ด้าน ได้แก่ (1) เขียนได้ถูกต้องตามอักขระวิธี(2) เขียนโดยใช้ถ้อยคำได้อย่างเหมาะสม (3) เขียนโดยใช้สำนวนภาษาได้เหมาะสม และ (4) เขียนตามโครงสร้างประโยคที่ถูกต้อง และ 2) โรงเรียนนายร้อยตำรวจต้องมีการออกแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทยเพื่องานสอบสวนสำหรับนักเรียนนายร้อยตำรวจที่เหมาะสมกับบริบทของนักเรียนนายร้อยตำรวจ โดยเน้นการฝึกปฏิบัติ การลงพื้นที่ การฝึกภาคสนาม หรือสร้างสถานการณ์จำลองเน้นหนักในเรื่องการเขียนที่จำเป็นต้องใช้ในการสอบสวน
ข้อเสนอแนะ พบว่า อาจารย์ต้องสร้างทัศนคติที่ดีถึงความสำคัญของการใช้ภาษาไทยให้แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ และมีเครือข่ายกับหน่วยงานภายนอกองค์กรเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาไทยในงานสอบสวน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมายเป็
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์
References
ดวงใจ ไทยอุบุญ. (2556). ทักษะการเขียนภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 8).กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีสุทธิ์ พันธ์ฤทธิ์. (2555). การสอบสวน. สำนักพิมพ์นิติธรรม : กรุงเทพ.
ภัทราภรณ์ จูฬะปิตะ. (2556). ความต้องการจำเป็นในการใช้ภาษาไทยเพื่องานสอบสวน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.
รัชฎาพร เกตานนท์ ภัทราภรณ์ จูฬะปิตะ. (2566). องค์ความรู้ทางการใช้ภาษาไทยเพื่องานสอบสวน. วารสารคุณภาพชีวิตและกฎหมาย, 19(2), 1-14.
วลีรัตน์ ดิษยศิรินทร์. (2551). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสรุปความจากเพลงไทยรวมสมัยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ กรุงเทพมหานคร. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2552). การพัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน. วารสารห้องสมุด T.L.A Bulletin, 53(2), 15-22.
อัมพร อังศรีพวง. (2546). คู่มือเสริมสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ป.4. กรุงเทพฯ :ธีรพงศ์การพิมพ์.
Heaton, J.B. (1979). Writing English Language Tests: A Practical Guide for Teachers of English. 5th Edition, Longman. London.