ความคิดเห็นของผู้รับบริการและเภสัชกรต่อแบบจำลองร้านยาที่ใช้ระบบเภสัชกรรมทางไกลโดยผู้รับบริการอยู่ร้านยาสื่อสารกับเภสัชกรผ่านระบบออนไลน์และส่งมอบยาโดยพนักงานร้านยาในพื้นที่ห่างไกล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความคิดเห็นของผู้รับบริการและเภสัชกรต่อแบบจำลองร้านยา 2) สำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรต่อพระราชบัญญัติยา และ 3) สำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรต่อคุณสมบัติของพนักงานร้านยาที่จะมาปฏิบัติงานในร้านยาตามแบบจำลองร้านยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้รับบริการจำนวน 12 คน เภสัชกรจำนวน 5 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านผู้วิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้รับบริการร้านยามีความตั้งใจจะใช้บริการจากแบบจำลองร้านยาให้เหตุผลประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ถึงความง่าย การรับรู้ถึงความง่าย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ถึงประโยชน์ และการรับรู้ถึงประโยชน์ 2) เภสัชกรมีความตั้งใจจะใช้บริการจากแบบจำลองร้านยา และคิดเห็นตรงกันว่าร้านยาแผนปัจจุบันต้องมีผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำอยู่ตลอดเวลาทำการ มีความเห็นต่างกันต่อการแก้ไขกฎหมายที่ให้เภสัชกรจ่ายยาได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ร้านยา ส่วนใหญ่เห็นว่าแบบจำลองร้านยาขัดแย้งต่อกฎหมาย และ 3) พนักงานร้านยาที่จะมาปฏิบัติงานในร้านยาตามแบบจำลองร้านยาควรผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ช่วยเภสัชกร ข้อเสนอแนะ พบว่า นำผลการวิจัยไปขับเคลื่อนนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 39 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522 และเสนอต่อสภาเภสัชกรรมเพื่อปรับปรุงข้อบังคับสภาเภสัชกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบเภสัชกรรมทางไกลเพื่อเปิดโอกาสให้สามารถนำแบบจำลองนี้มาปรับใช้จริง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมายเป็
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์
References
ข้อบังคับสภาเภสัชกรรม พ.ศ. 2538. (2538, 10 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 112 ตอนที่ 102. หน้า 3
นิลวรรณ อยู่ภักดี. (2563). การกระจายร้านยากับความต้องการด้านสุขภาพในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 14(1), 80-83.
ปฐมา เทพชัยศรี. (2566) การให้บริการเภสัชกรรมทางไกลในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: โอกาสด้านสุขภาพ และความเสี่ยง. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 10, 18-23.
พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2522. (2522, 13 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 96 ตอนที่ 79ก. หน้า 29
สภาเภสัชกรรม. (2565). ประกาศสภาเภสัชกรรมที่ 62/2565 เรื่อง แนวทางเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy). https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option= content_detail&menuid=35&itemid=2966&catid=0
สภาเภสัชกรรม: The Pharmacy Council. (2019, June 17). Telepharmacy [Video]. Facebook. https://web.facebook.com/thaipharmacycouncil/posts/ต้องมีระบบรองรับ-มีขั้นตอนคร่าวๆคือ1พอแพทย์สั่งยาแล้ว-ผู้ป่วยก็เดินไปที่ร้านยา2ท/2724106547659381/?locale=af_ ZA&_rdc=1&_rdr
Ameri A., Salmanizadeh F., Bahaadinbeigy K. (2020). Tele-pharmacy: a New Opportunity for Consultation During COVID-19 Pandemic. Health Policy and Technology, 9(3), 281.
Abdool S., Abdallah S., Akhlaq S., & Razzak H. A. (2021). User Acceptance Level of and Attitudes Towards Telemedicine in the United Arab Emirates: a Quantitative Study. Sultan Qaboos University Medical Journal, 21(2), 203-209.
Alviani R., Purwandari B., Eitiveni I.,Purwaningsih M. (2023). Factors Affecting Adoption of Telemedicine for Virtual Healthcare Services in Indonesia. J. Inf. Syst. Eng. Bus. Intell, 9(1), 47-69.
Alviani R., Purwandari B., Eitiveni I., Purwaningsih, M. (2023). Factors Affecting Adoption of Telemedicine for Virtual Healthcare Services in Indonesia. Journal of Information Systems Engineering and Business Intelligence, 9(1), 47-69.
Chan ZY., Lim CF., Leow JL., et al. (2022). Using the Technology Acceptance Model to Examine Acceptance of Telemedicine by Cancer Patients in an Ambulatory care setting. Proceedings of Singapore Healthcare. 31, 1-11.
Jang M. (2023). Why Do People Use Telemedicine Apps in the Post-COVID-19 Era? Expanded TAM with E-Health Literacy and Social Influence. Informatics, 10(4), 7-12.
Khairani D., Sari P. K., Oktaviana R. S., Hidayanto A. N., & Mintarsih, F. (2023). Examining Intention to Use of Mobile Telemedicine Services Among Indonesians Through Modified Technology Acceptance Model: Survey Study. ICIC Express Letters, 17(10), 1085-1094.
Lebl A., Mitić D., Milošević-Georgiev A., Lebl-Antonić, D. (2017). Application of Telepharmacy: Importance of a Pharmacy Technicians' Role. Scientific Technical Review, 67(1), 54-60.
Shiferaw K. B., & Mehari, E. A. (2019). Modeling Predictors of Acceptance and Use of Electronic Medical Record System in a Resource Limited Setting: Using Modified UTAUT Model. Informatics in Medicine Unlocked, 17, 100182.
Tzanetakos G., Ullrich F., Meuller K. (2017). Telepharmacy Rules and Statutes: a 50-State Survey. Rural Policy Brief, 1-4.
Venkatesh V., Bala, H. (2008). Technology Acceptance Model 3 and a Research Agenda on Interventions. Decision Science, 39(2), 273-312.
Zolait A., Radhi N., Alhowaishi M. M., Sundram V. P. K., Aldoseri, L. M. (2019). Can Bahraini Patients Accept E-health Systems?. International journal of health care quality assurance, 32(4), 720-730.