การป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศ ของผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ (เพศหญิง) ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเพศของผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ (เพศหญิง) ในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อหาแนวทางการป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ อาชญากรรมทางเพศของผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ (เพศหญิง) ในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ประกอบด้วย ตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล และ ผู้ใช้บริการรถแท็กซี่เพศหญิง
ผลการวิจัย พบว่า เกิดจากสาเหตุ 3 ด้านคือ (1) ด้านผู้ใช้บริการรถแท็กซี่ เช่น การแต่งกายวาบหวิว มึนเมา (2) ด้านคนขับรถแท็กซี่ ได้แก่ การใช้สารเสพติดสิ่งมนเมา พฤติกรรมส่วนตัว การสวมสิทธิ์บุคคลอื่น เพื่อมาขับรถแท็กซี่ และ (3) ปัจจัยอื่น ๆ ปัจจัยโอกาสเวลา สถานที่ แรงกดดันทางเศรษฐกิจ สังคม ความเครียด ปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและมายาคติชายเป็นใหญ่ สำหรับแนวทางการป้องกัน พบว่า
มี 2 ด้านคือ (1) ด้านการป้องกันตนเอง การแต่งกายให้มิดชิด สังเกตจดจำพฤติกรรม ข้อมูลของคนขับ
ไม่เดินทางด้วยแท็กซี่เพียงลำพัง ไม่ดื่มสุราหรือเที่ยวสถานบันเทิงจนมึนเมา และ (2) ด้านการป้องกันจากภาครัฐ เอกชนและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง คือ การคัดกรองบุคลากร กฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ออกตรวจพื้นที่เสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ และมีการติดตั้งอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยบนรถแท็กซี่ทุกคันโดยไม่มีข้อยกเว้น
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย พบว่า องค์กรรัฐ ควรมีมาตรการการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้น เพิ่มบทลงโทษในคดีอาชญากรรมทางเพศเพื่อป้องกันการก่อเหตุซ้ำ หรือเกรงกลัวต่อกฎหมายไม่กล้าการกระทำความผิด อีกทั้งควรเพิ่มกฎระเบียบในการออกใบอนุญาตขับรถโดยสารสาธารณะ ไม่มีการทุจริต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมายเป็
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์
References
ณิศพล รักษาธรรม. (2559). ความหวาดกลัวอาชญากรรมทางเพศของหญิงที่โดยสารรถยนต์รับจ้าง สาธารณะ (รถแท็กซี่) ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธัมเมศฐ์ กันต์ธนพงษ์ ชนิกา แสงทองดี. (2563). การป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมของประชาชนในเขตพื้นที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ปิยนาถ ชัยศิริ. (2567). ปัจจัยในการกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมทางเพศ: กรณีศึกษาผู้ต้องขังชายในคดีข่มขืน เรือนจำพิเศษกรุงเทพ. มหาวิทยาลัยรังสิต.
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2551). อาชญากรรมพื้นฐานกับกระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร: โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภุมรินทร์ บุญล้อม. (2558). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมผู้ขับขี่รถแท็กซี่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล. (8 พ.ย. 2566) เวทีเสวนา "คุกคามทางเพศ กับนักการเมือง ผู้นำและอำนาจ"
https://www.wmp.or.th/blog/10278/เวทีเสวนาคุกคามทางเพศกับนักการเมือง-ผู้นำและอำนาจ.
วราภรณ์ แช่มสนิท (2560, มีนาคม 9). ผู้หญิง 1 ใน 3 เคยถูกคุกคามบนรถสาธารณะ. สสส. https://www.thaihealth.or.th/ผู้หญิง-1-ใน-3-เคยถูกคุกคาม/
วรภัทร พึ่งพงศ์. (2562). ภัยร้ายในพื้นที่สาธารณะ: หนทางการแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศกับการตกเป็นเหยื่อของผู้หญิง บนรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิริญญ์ ไชยทองศรี. (2563). แนวทางการป้องกันการข่มขืนกระทำชำเรา กรณีศึกษาในพื้นที่แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด. (2561). เหยื่ออาชญากรรม : สิทธิและการช่วยเหลือเยียวยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2565, 31 ธันวาคม). ประเภทความผิดฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ (ข่มขืนกระทำชำเรา) เมื่อปี 2560- 2565. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. http://www.crimespolice.com/portal/ข้อมูลสถิติคดี2/.
สถาบันวิจัยและบริการวิชาการมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (2560, 3 ตุลาคม). สถิติการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะของคนกรุงเทพมหานคร. BLT Bangkok. https://www.bltbangkok.com/poll/4055/.
สถาพร เธียรสรรชัย. (2564). แนวทางในการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้โดยสาร การรถไฟแห่งประเทศไทย กรณีศึกษาพื้นที่รับผิดชอบของกองกำกับการ 1 กองบังคับการตำรวจรถไฟ. โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.
สันติ กรอบสนิท. (2561). การพัฒนาระบบคิวอาร์โค้ดเพื่อป้องกันอาชญากรรมสำหรับผู้โดยสารรถยนต์รับจ้าง(รถแท็กซี่) [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต] โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.
อคร กล่อมกูล, กฤษณพงค์ พูตระกูล (2566) รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้างสาธารณะ(แท็กซี่) ในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต] มหาวิทยาลัยรังสิต.
Britannica. (2023). Defense mechanism human psychology. Encyclopaedia Britannica. https://www.britannica.com/topic/defense-mechanism
Cohen LE., M.F. (1979). Social change and crime rate trends: A routine activities approach. American Sociological Review, 44(4), 588-608. https://doi.org/10.2307/2094
Eck J. E. (2010). Encyclopedia of criminological theory. University of Cincinnati. Retrieved from https://researchdirectory.uc.edu