ปัญหาการแบ่งอำนาจสอบสวนและความเชี่ยวชาญ ของพนักงานสอบสวนคดีอาญาของไทย

Main Article Content

หนึ่งฤทัย อินทรโชติ
กฤษฎา แสงเจริญทรัพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุในการแบ่งอำนาจสอบสวนคดีอาญาของไทยในปัจจุบัน  โดยเปรียบเทียบกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการแบ่งอำนาจสอบสวนคดีอาญาของไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อหาแนวทางหรือมาตรการที่เหมาะสมในการแบ่งอำนาจสอบสวนของตำรวจในคดีอาญาของไทย เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกฎหมาย หนังสือ วารสาร วิทยานิพนธ์ และงานวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า การใช้อำนาจสอบสวนคดีอาญาของไทยในปัจจุบัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้มีอำนาจการสอบสวนคดีอาญาทั่วไปและคดีอาญาตามกฎหมายอื่น ๆ ที่บทบัญญัติกำหนดไว้ว่าเป็นความผิดทางอาญา รวมไปถึงเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้สรุปสำนวนการสอบสวนและทำความเห็นเสนอพนักงานอัยการ โดยไม่มีการแบ่งอำนาจการสอบสวน ทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าและขาดการถ่วงดุลอำนาจการสอบสวน หรือในคดีที่มีข้อเท็จจริงที่ค่อนข้างซับซ้อน เกี่ยวโยงกฎหมายหลายฉบับพนักงานสอบสวนขาดความเชี่ยวชาญ เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐฝรั่งเศสแล้ว พบว่า กฎหมายให้พนักงานอัยการมีอำนาจในการสอบสวนฟ้องร้องคดีอาญา โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้ช่วยเหลือสอบสวนคดีอาญา และรายงานการสอบสวนให้พนักงานอัยการทราบ พนักงานอัยการจึงทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดแนวทางการสอบสวน และเมื่อจำเป็นพนักงานอัยการอาจยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาดำเนินการสอบสวนได้เช่นกัน


ข้อเสนอแนะ ให้มีการแบ่งอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวน โดยพนักงานอัยการเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน เป็นผู้ควบคุมและกำหนดแนวทางการสอบสวนตั้งแต่เริ่มคดี หรือให้มีผู้พิพากษาสอบสวน โดยอาจเข้ามามีส่วนร่วมในการสอบสวนโดยการร้องขอของพนักงานอัยการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพงษ์ วิวัฒน์วานิช. (2556). หลักและทฤษฎีการสอบสวน. กรุงเทพฯ : พิมพ์อักษร.

ธนกฤต วรธนัชชากุล. (2564). ระบบกล่าวหาและระบบไต่สวนกับบทบาทของคู่ความและศาล. เอกสารเผยแพร่ข่าวสารและความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรม. สถาบันนิติวัชร์, สำนักงานอัยการสูงสุด.

นายณัฐพล จันทร์สุข. (2560). การค้นหาความจริงเกี่ยวกับคดีในชั้นเจ้าพนักงาน. [วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

นิชฌาน หัสรังค์. (2562). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยกับฝรั่งเศส – เปรียบเทียบในภาพรวม.

https://oia.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/9281/iid/161757

บุญเลิศ ทวีวิทย์. (2560). อุปสรรคในกระบวนการสอบสวนที่ส่งผลต่อการอำนวยความยุติธรรมและการให้บริการประชาชน. วารสารตำรวจ, 53(453).

พฤกษา เครือแสง และ รัชดาพร หวลอารมณ์. (2559). การพัฒนากระบวนการสอบสวนคดีอาญาของไทย.วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9(1), 134.

ภาวิณี หาญธงชัย. (2564). เอกภาพการสอบสวนคดีอาญา : ศึกษาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครอง. [วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ราชกิจจานุเบกษา. (2541). กฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนความผิดอาญาบางประเภทในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร โดยพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง พ.ศ. 2554. เล่ม 128 หน้า 20-23 (17 มิถุนายน 2554)

วิชา มหาคุณ. (2564). วิกฤตกระบวนการยุติธรรมไทย ต้องวิจัยอะไร ปฏิรูปอะไรและอย่างไร. https://www.isranews.org/article/isranews-article/100286-isranews_news-2.html

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองร่วมกับมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ประเทศไทย. (2560). ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี.

ศิรินภา สมภาร. (2560). ปัญหาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ. [วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สมนึก เขมทองคำ. (2558). การพัฒนาระบบการสอบสวนคดีอาญาของไทย. [ดุษฎีนิพนต์นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)ออนไลน์. (2563). การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นสอบสวน. http://ucl.or.th/?p=3435

อิงครัต ดลเจิม. (2563). หลักแนวคิดและทฤษฎีและการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต, 2(1), 69-85.

Code of Criminal Procedure. (1948). (Entry into force 10 July 1948). Retrieved from

https://www.japaneselawtranslation.go.jp/en/laws/view/2056/en#je_pt2ch2

Code de procédure pénale. (2022). (Entry into force 22 December 2022). Retrieved from https://www.legifrance.gouv.fr/codes/texte_lc/LEGITEXT000006071154/