ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในที่ดินบนที่เกาะของชนพื้นเมือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิในที่ดินบนที่เกาะของชนพื้นเมืองประเทศไทยและต่างประเทศ และศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการคุ้มครองสิทธิในที่ดินบนที่เกาะของ
ชนพื้นเมือง เป็นการวิจัยเอกสาร โดยทำการศึกษากฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแนวคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด และความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา และเปรียบเทียบกับกฎหมายที่ดินของต่างประเทศ
ผลการวิจัย พบว่า มีปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความไม่สอดคล้องของลำดับศักดิ์ทางกฎหมาย ปัญหาเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิของชนพื้นเมืองในการได้รับสิทธิในที่ดินและได้รับหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน อันอาจจะขัดต่อหลักความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ ปัญหาการควบคุมการถือครองที่ดินบนที่เกาะ หากไม่มีการจำกัดระยะเวลาการห้ามโอนไว้ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้รัฐกำหนดมาตรการทางกฎหมายให้ชนพื้นเมืองอยู่ร่วมกับธรรมชาติ
ข้อเสนอแนะ เห็นควรให้มีการแก้ไขสามารถออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินบนเกาะได้ โดยกำหนดมาตรการทางกฎหมาย นำแนวคิดเรื่องเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมมาเป็นหลักการพื้นฐานในการแก้ไข และให้มีการจัดการทางด้านผังเมืองบนเกาะให้ถูกต้องตามแนวทางที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและการจัดโซนนิ่ง โดยต้องทำการตราเป็นพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาเป็นรายเกาะ และในลำดับถัดมาจึงจะสามารถพิจารณาว่าจะออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้แก่ชนพื้นเมืองได้หรือไม่ พร้อมทั้งต้องมีการจำกัดเรื่องการห้ามโอนสิทธิและนิติกรรมให้เป็นกรณีพิเศษแตกต่างไปจากหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินทั่วไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมายเป็
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์
References
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2561). รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลกัดเซาะชายฝั่งทะเลไทยและการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567. จากhttps://projects.dmcr.go.th/miniprojects/175/news/264/detail/48978.
ชยธร ไชยวิเศษ. (2561). สถานะและศักดิ์กฎหมายของประกาศหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์. 2(2), 76-96.
จิตรพรต พัฒนสิน ปราณี ติรสมบูรณ์สิริ จันทกานต์ เชิดชู และคณะ. (2560). กฎหมายและการจัดการสิ่งแวดล้อมของเครือรัฐออสเตรเลีย. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
ทองโรจน์ อ่อนจันทร์. (2564). เศรษฐศาสตร์ที่ดิน: ทฤษฎีและนโยบาย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร.
ไทยโพสต์. (2565). ชาวเล เกาะหลีเป๊ะ ค้านนายทุนปิดเส้นทางไปโรงเรียน จี้นายอำเภอดูแล เพิกถอนที่ดินปัญหา. ค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.thaipost.net/district-news/272752/.
นิตยา โพธิ์นอก อริย์ธัช บุญถึง และ ดวงจันทร์ ศิริรักษ์โสภณ. (2565). การใช้สิทธิและมีส่วนร่วมของประชาชนในการเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยชนเผ่าพื้นเมือง. สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า กรุงเทพมหานคร.
แปงฟู พิมลกร. (2562). แนวคิดรัฐธรรมนูญนิยมท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2(1), 17-54.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2562). กฎหมายเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม การเมืองและความมั่นคงของประเทศ อินโดนีเซีย. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
มหาวิทยาลัยบูรพา.(2561). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ข้อมูลกฎหมายของประเทศมาเลเซียและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสังคมวัฒนธรรม การเมือง และความมั่นคงของประเทศมาเลเซีย. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
วัชระ มาลัยมาตร. (2558). การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน. กรุงเทพมหานคร: กรมที่ดิน.
ศรศวัส มลสุวรรณ. (2562). ศาลรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐอินโดนีเซีย. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน). (2564). ร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดิน
และกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. .....
สถาบันวิจัยสังคม. (2562). แนวคิดเขตคุ้มครองทางวัฒนธรรมเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์. ค้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566 จาก http://www.andaman.cusri.chula.ac.th/media/2019/06/3-1.pdf.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร.
อดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ. (2562). กฎหมายต้นแบบเพื่อใช้บังคับผังเมืองเฉพาะ. ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อลิสา หะสาเมาะ. (2562). คนพื้นเมืองออสเตรเลีย. วารสารรูสมิแล. 40(3), 43-54.