การวางแผนการเงินส่วนบุคคลของมัคคุเทศก์ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

วัลลพ ล้อมตะคุ
สิทธิชัย ลีวิวัฒน์วงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของมัคคุเทศก์ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างมัคคุเทศก์ ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 119 ราย ร่วมกับใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างมัคคุเทศก์ ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 20 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41 – 50 ปี สถานภาพโสด มีจำนวนสมาชิกครอบครัว 2 – 3 คน มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ช่วงปี พ.ศ. 2563-2565) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 10,000 บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 10,001 – 20,000 บาท และไม่มีการออมหรือการลงทุน 2) มัคคุเทศก์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีการวางแผนการเงินส่วนบุคคล 2.1) มีการหารายได้เพิ่มเติมโดยทำอาชีพเสริม และมีการแบ่งสัดส่วนรายได้ต่าง ๆ อย่างชัดเจน 2.2) มีการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และมีการทบทวนรายจ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน 2.3) มีการวางแผนและตั้งเป้าหมายในการออมหรือการลงทุน และมีการจัดสรรเงินออมหรือเงินลงทุนไว้ก่อนใช้จ่าย 2.4) มีการสำรวจหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมด มีการจัดลำดับการปิดหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมด และไม่ก่อหนี้สินใหม่เพิ่ม 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วัลลพ ล้อมตะคุ, สาขาวิชาการเงินและการลงทุน คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

 

สิทธิชัย ลีวิวัฒน์วงศ์, สาขาวิชาการเงินและการลงทุน คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

 

 

References

Admission Premium. (2017). Tour Guide or Guide What Do They Do? How Much their Income?. https://www.admissionpremium.com/hotel/news/3144

Amazing Thailand. (2022). Guidance for Chiangmai. https://thai.tourismthailand.org Chanthanasiri, S. (2020). Personal Financial Management of Civil Servants under the Ministry of Education Retired at the End of the Fiscal year 2019. Faculty of Business Administration, Ramkhamhaeng University.

Department of Disease Control. (2021). Economic and Social Impact of COVID-19 Pandemic in World and Thailand. https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1177420210915075055.pdf

Division of Tourism Business and Guide Registration North Center. (2022). Statistic of Tours. https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411

Ministry of Tourism and Sports. (2022). Tourist Statistics. https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411

Nainamat, K., & Huttasin, N. (2019). Personal Financial Management Behaviors of Employees in Local Administrative Organizations in Khemarat District, Ubon Ratchathani Province. Journal of Management Science, Ubon Ratchathani University, 8(16), 32-51. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu/article/view/178354

Sektrakul, K. (2010). Personal Finance Planning: When People Wealth Nation will Wealth too. SET. https://member.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=535&type=article

Teeratansirikool, L. (2020). Personal Finance Management Techniques in Crisis. Journal of Management Science Review, 7(2), 150-163. https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jfam/article/view/4089

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). Harper and Row.

Yuwasute, P. (2014). Guide. http://payomyuvasuta1.blogspot.com/2011/10/blog-post.html