การพัฒนารูปแบบโอกาสทางสังคมและการเพิ่มรายได้ของคนจน ที่ปลูกมันสำปะหลัง ด้วยการจัดการห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจเกษตร กรณี มันสำปะหลัง ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบโอกาสทางสังคม และการสร้างรายได้ของคนจนในห่วงโซ่ธุรกิจเกษตร กรณี มันสำปะหลัง และ 2) ประเมินรายได้ของคนจนในการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจเกษตรด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการวิจัยและพัฒนาแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลหลักคือเกษตรกรคนจนในอำเภอหนองกุงศรี อำเภอสหัสขันธุ์ อำเภอนามน อำเภอดอนจาน อำเภอกมลาไสย และอำเภอกุฉินารายณ์ จำนวน 50 คน เป็นตัวอย่างแบบเจาะจงจาก TPMAP การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรคนจนที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับมันสำปะหลัง จำนวน 550 คน เป็นตัวอย่างแบบเจาะจงจาก Kalasin Happiness Model (KHMV2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสำรวจฐานรายได้ แบบประเมินการปรับใช้เทคโนโลยี วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบโอกาสทางสังคม และการสร้างรายได้ คือการได้ร่วมคิดและแสดงบทบาทในห่วงโซ่ธุรกิจเกษตร การฝึกปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนสามารถนำความรู้ไปพัฒนาผู้อื่นและเครือข่ายได้ 2) การประเมินรายได้หลังดำเนินโครงการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 481,625 หรือร้อยละ 137.71 มาจากรับจ้างปลูกและขายมันสำปะหลัง มาจากการรับและปรับใช้เทคโนโลยีเตาเผาถ่าน เครื่องอัดถ่าน โดยนำเหง้ามันที่เหลือมาทำเป็นถ่านชีวมวลขาย ทำน้ำส้มควันไม้เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดศัตรูพืช เศษมันสำปะหลังในไร่นำมาสับตากแห้งขายให้กับลานมัน แปรรูปเป็นอาหารสัตว์ จนพัฒนาเป็นเครือข่ายเรียนรู้มีการทำตลาดได้ทั้งในและนอกชุมชน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
Auttajate, K. (2022). Reductions in income inequality among agricultural households in Thailand: A post COVID-19 pandemic future. Armed Forces Development Command Journal, 46(1), 47-58. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AFDCJournal/article/view/255065
Bureau of Agricultural Economics Research, Office of Agricultural Economics, Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2023, July). Access to agricultural technology, innovation, and funding. https://api-research.nabc.go.th/uploads/3637a4063b_725d53b85c8b28c172cdacf8e6b1741e.pdf
Department of Agricultural Extension. (2019). Young Smart Farmers (YSF). https://esc.doae.go.th
Davis, F. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 319-339.
Fishbein, M., & Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention and behaviour: An introduction to theory and research. Addison-Wesley. https://people.umass.edu/aizen/f&a1975.html
Kingnet, N., & Manijak, N. (2019). Thailand’s occupational dimension inequality: A case study in agricultural occupations. Bank of Thailand. https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th /research-and-publications/research/discussion-paper-and-policy-paper/Inequality_4GiniCoefficient.PDF
Na Ranong, S. et al. (2024). Evaluation for appropriate technology program: Tools and methods, EAT (2nd ed.). IQue Madia.
Porter, M.E. (1985). The competitive advantage: Creating and sustaining superior performance. Free Press.
Rogers, E.M. (2003). Diffusion of innovations (5th ed.). Free Press.
Rogers, E.M., & Shoemaker, F.F. (1971). Communication of innovations. Free Press.
Schumacher, E.F. (1975). Small is Beautiful: Economics as if people mattered. Harper & Row.
Songrak, A. et al. (2022). Application and expansion of appropriate technology for improving capability and social opportunities for poor people within strategic research areas. Rajamangala University of Technology Srivichai, Thailand.