กลไกการจัดการปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ตามแนวชายแดนภาคตะวันออกไทย – กัมพูชา

Main Article Content

ชูวงศ์ อุบาลี

บทคัดย่อ

     โครงการวิจัย เรื่อง กลไกการจัดการปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ตามแนวชายแดนภาคตะวันออกไทย – กัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกลไกที่มีอยู่ในการจัดการผลกระทบ และมาตรการการเพิ่มศักยภาพกลไกที่มีอยู่ในการจัดการผลกระทบจากปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชายแดนไทย – กัมพูชา ผู้วิจัยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตการณ์ และการจัดเวทีระดมความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การจัดแยกประเภท และทำการวิเคราะห์เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ และการตีความข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า


     1) ประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของกลไกที่มีอยู่ในการจัดการผลกระทบจากปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นแล้วคือ การใช้กลไกการเจรจา กลไกทางการเมือง และกลไกด้านการบริหารจัดการงบประมาณ กลไกภายใต้แผนการปฏิบัติงานด้านเศรษฐกิจ กลไกการประเมินผลแผนการปฏิบัติงานตามหลักการมีส่วนร่วม กลไกการควบคุมปัญหาแรงงาน กลไกการประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลหน่วยงานระดับท้องถิ่นระหว่างประเทศ และกลไกการสนับสนุนภารกิจหน่วยงานหลัก สำหรับประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมของกลไกในการจัดการผลกระทบที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น คือ กลไกการจัดการความขัดแย้ง และกลไกการพัฒนาความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ กลไกภายใต้แผนการปฏิบัติงานด้านเศรษฐกิจ กลไกการสนับสนุนประชาชนในกิจกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ กลไกการพัฒนาของผู้นำท้องถิ่นสำหรับรองรับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในท้องถิ่น กลไกการจัดการตามแผนปฏิบัติงานด้านสังคมและทรัพยากรธรรมชาติ และกลไกการควบคุมแรงงานระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับองค์กรภาคธุรกิจ


     2) มาตรการการเพิ่มศักยภาพการมีส่วนร่วมของกลไกลในการจัดการผลกระทบจากปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ คือ (1) มาตรการการเพิ่มทักษะการเจรจาต่อรอง (2) มาตรการจัดระบบการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ (3) มาตรการปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำ (4) มาตรการสำรวจความต้องการการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ (5) มาตรการประเมินผลลัพธ์ของแผนงานด้านเศรษฐกิจ (6) มาตรการการส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน (7) มาตรการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน (8) มาตรการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (9) มาตรการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม (10) มาตรการการจัดกิจกรรมการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และ (11) มาตรการอำนวยการ การประสานการปฏิบัติ ในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชูวงศ์ อุบาลี .(2557).การสร้างความปรองดองในระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลตะเคียนทอง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี.ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสถาบันพระปกเกล้า.2557

2. ชูวงศ์ อุบาลี (2550). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการปัญหาความมั่นคง รูปแบบใหม่ตามแนวชายแดนภาคตะวันออกไทย – กัมพูชา ภายใต้แผนงานวิจัยเรื่อง นโยบายและมาตรการเพิ่มศักยภาพของชุมชนชายแดนไทยและกัมพูชาในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเพื่อการเป็นประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2559

3. นพนนต์ หวานชื่น และคณะ.(2556).การจัดการความขัดแย้งในการปฏิบัติงานของผู้นำท้องที่กับผู้นำท้องถิ่น เขตพื้นที่ตำบลฉวาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2556.

4. ปราโมทย์ รวิยะวงศ์. ปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้นำท้องถิ่นกับผู้นำท้องที่ : กรณีศึกษาอำเภอยางสุสีราช จังหวัดมหาสารคาม.เอกสารประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มสธ.ครั้งที่ 1 .วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการเมืองการปกครอง สาขาวิชารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554.

5. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.(2552).คู่มือใช้เป็นแนวทางการศึกษาตามหลักสูตรของวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร และหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน ประจำปีการศึกษา 2552 – 2553. เอกสาร วปอ. หมายเลข ๐๐๘ คู่มือเรื่องความมั่นคงแห่งชาติ.(อัดสำเนา).

6. สมาคมความมั่นคงปลอดภัยแห่งประเทศไทย.(2545). ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ. กรุงเทพฯ : พิมพลักษณ์

7. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2549). ยุทธศาสตร์ความมั่นคงชายแดน 2549 - 2553. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.