แนวทางการพัฒนากิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ประพรรธน์ พละชีวะ
อังคนา กรัณยาธิกุล
ดนุชา สลีวงศ์
เลอลักษณ์ โอทกานนท์

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนากิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังข์อ่ำวิทยา  อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 7 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) แบบสัมภาษณ์ครูที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เก็บข้อมูลในการวิจัยโดยให้ครูเป็นผู้ช่วยวิทยากรและผู้สังเกตการณ์ในการทำกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อ จากนั้นทำการสัมภาษณ์ครูด้วยเทคนิคการสะท้อนความคิด


     ผลการวิจัยพบว่า


     1.แนวทางการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมในการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อในนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย ควรเป็นกิจกรรมกลุ่มช่วยผู้เรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน


     2. กิจกรรมควรเน้นการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เพื่อทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการรู้เท่าทันสื่ออย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ขวัญฤดี ผลอนันต์ และธัญญา ผลอนันต์. 2550. Mind Map กับการศึกษาและการบริหารความรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ขวัญข้าว.

2. ฆนัท ธาตุทอง. 2554. สอนคิด การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

3. จุติมา นาควรรณ. 2544. ผลของการสอนเขียนโดยใช้เทคนิคระดมสมองและผังความคิดที่มีต่อความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. ใจทิพย์ ณ สงขลา. 2550. วิธีวิทยาการออกแบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

5. ฉัตรวรุณ เล้าแสงชัยวัฒน์. วัยมันส์เท่าทันสื่อ คู่มือการจัดกิจกรรมเพื่อเรียนรู้เท่าทันสื่อสำหรับเยาวชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://resource.thaihealth.or.th/library/hot/14008. 2559.

6. โตมร อภิวันทนากร. คิดอ่านปฏิบัติการเท่าทันสื่อ คู่มือสำหรับจัดกระบวนการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://resource.thaihealth.or.th/library/hot/13911. 2559.

7. ทิศนา แขมมณี. 2551. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

8. มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย. รู้เท่าทันสื่อICT. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.inetfoundation.or.th/icthappy/media.php?act=sh&s=learn&Id=MjI=&. 2559.

9. นิธิดา วิวัฒน์พาณิชย์. 2558. การพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปีที่ 9 (กันยายน – ธันวาคม): 209-219

10. บุปผา เมฆสีทองคำ และดนุลดา จามจุรี. การศึกษาการรู้เท่าทันสื่อ: วิถีทางในการสร้างพลังการรู้เท่าทันสื่อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/april_june_11/pdf/aw8.pdf. 2559

11. ประชาสรรณ์ แสนภักดี. การประยุกต์ใช้แผนที่ความคิดในการระดมสมอง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.prachasan.com/mindmapknowledge/brainstormmm.htm 2559.

12. ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. 2553. การพัฒนาการคิด. 5,000 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

13. พรทิพย์ เย็นจะบก. ถอดรหัส ลับความคิด เพื่อการรู้เท่าทันสื่อ คู่มือการเรียนรู้เท่าทันสื่อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://resource.thaihealth.or.th/library/hot/14000. 2559.

14. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. “รู้เท่าทันสื่อ” คืออะไร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://bcp.nbtc.go.th/knowledge/detail/306. 2559

15. อุษา บิ้กกิ้นส์. ม.ป.ป. การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dpu.ac.th/dpurc/assets/uploads/magazine/fbthw2uccf4gokk.pdf. 2559