การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ประเภทสามัญ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในจังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการนิเทศภายในยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 360 คนจากการเปิดตารางของ Krejcie & Morgan จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความต้องการในการนิเทศภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) แบบวัดการรับรู้ ทักษะและเจตคติของครูที่มีต่อการนิเทศภายในสถานศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ประเภทสามัญเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนในจังหวัดชลบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่า t-test Dependent
ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและความต้องการการนิเทศภายในสถานศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ประเภทสามัญมีระดับการปฏิบัติการโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ตามลำดับได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ ด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนและด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม 2) รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ประเภทสามัญเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน DGPAC ได้แก่ 1) Direct Assistance 2) Group Development 3) Professional Development 4) Action Research 5) Curriculum Development 3) ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ ประเภทสามัญเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) ผลการประเมินการรับรู้ ทักษะและเจตคติของครูผู้สอน ที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ประเภทสามัญพบว่าครูผู้สอนมีการรับรู้ทักษะอยู่ในระดับดีและเจตคติอยู่ในระดับที่ดีอย่างมากต่อรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษาเอกชนขนาดใหญ่ประเภทสามัญ
Article Details
References
2. กระทรวงศึกษาธิการ. 2545. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://media.wix.com/ugd/2cef27_c7c9894bd94e7b6e42e48f128de37069.Pdf. (วันที่ค้นข้อมูล 10 สิงหาคม 2556).
3. กุลวดี บัวโชติ. 2547. การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนในพระราชสำนัก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
4. ชัชชญา พีระธรณิศร์. 2552. บทบาทของผู้สอนในการจัดการสอน สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม. พัฒนาการเรียนการสอน. 3 (กรกฎาคม-ธันวาคม): 74 – 77.
5. ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. 2551. หลักการนิเทศภายในสถานศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.kroobannok.com/39845. (วันที่ค้นข้อมูล 11 กรกฎาคม 2557).
6. ณรงค์ คุ้มภัยเพื่อน. 2550. การพัฒนาครูด้านกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนดูนสาดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
7. ธีระ รุญเจริญ. 2550. การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
8. นทจร ธีรปัญญาภรณ์. 2554. การดำเนินการนิเทศภายในของโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
9. นารีรัตน์ เฉลยปราชญ์. 2550. สภาพและปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนสารวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
10. วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์. 2538. หลักการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: พรศิวการพิมพ์.สฎายุ ธีระวณิชตระกูล. 2554. การบริหารงานบุคคลทางการศึกษาตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพของคุรุสภา พ.ศ.2548 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ชลบุรี: เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.
11. สมุทร ชำนาญ. 2554. ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎีและปฏิบัติ. ระยอง: พี เอส การพิมพ์.สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2538. คู่มือศึกษานิเทศก์แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาระบบนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์.
12. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2547 ก. เอกสารประกอบการศึกษาด้วยตนเอง หลักสูตรผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.)
13. ________. 2547 ข. การทำวิจัยแบบง่าย: บันไดครูสู่นักวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. 2555. รายงานผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญ ประจำปีงบประมาณ 2554. กรุงเทพฯ: สกสค.
14. ________. 2558. นโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาร์พงษ์ รัตนสุวรรณ). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวง: ศึกษาธิการปลัด: กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เข้าถึงได้จาก https://www.kruthai.info/view.php?article_id=8180. วันที่ค้นข้อมูล 20 พฤษภาคม 2558.
15. ________. 2559. สัดส่วนการเรียนรู้และวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. จุลสารสมศ. (สิงหาคม-กันยายน): 7.Davenport, J., & Smetana, L. 2004. Helping new teachers achieve excellence. The Delta Kappa Gamma Bulletin. 70 (2): 18-22.
16. Fernando, Delini M.; & Herlihy, Barbara R. 2010,. Supervision of Group Work Infusing the Spirit of Social Justice. Journal for Specialists in Group Work. 35 (September): 281-289.
17. Glickman, C.D. 2004. Supervision and instructional leadership: A developmental approach (6th ed.). Boston: Allyn &Bacon.
18. Glickman, Stephen P. Gordon, Jovita M., Ross-Gordon 2007. Supervision and instructional leadership: A developmental approach (7th ed.): The United States of America.
19. Glickman, Gordon, Ross-Gordon. 2009. The basic guide to supervision and instruction leadership. The United States of America.
20. Lee, Alison; & Green, Bill. 2009. Supervision as Metaphor. Studies in Higher Education. 34 (6): 615-630.