กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา ของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2

Main Article Content

แสงเดือน อาจหาญ

บทคัดย่อ

     วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับ  สภาพปัญหาและหากลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้  ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน  รวมทั้งสิ้น 552  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีจำนวน 2  ส่วน  ส่วนที่ 1 มี 2 ฉบับ  ได้แก่ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า  5  ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง.57 - .85  ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98  ฉบับที่ 2  เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  เพื่อใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพยืนยันข้อมูลเชิงปริมาณตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลฉบับที่ 1  และส่วนที่ 2 ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างใช้ในการสนทนากลุ่ม (Focus  Group )  เพื่อหากลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย () และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)  และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content  Analysis)  สรุปผลการอภิปรายนำเสนอเป็นความเรียงในรูปการบรรยายเชิงเนื้อหา


     ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


     ส่วนที่ 1  ผลการวิเคราะห์ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 2  จำแนกตามสถานภาพของผู้ให้ข้อมูลพบว่า  1) ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในด้านการตัดสินใจ  และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการน้อยที่สุด 2) ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในด้านการประเมินผล  และมีส่วนร่วมในผลประโยชน์น้อยที่สุด 3)  ครูมีส่วนร่วมในด้านการประเมินผล  มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ  และมีส่วนร่วมในผลประโยชน์มากที่สุด  และ 4) ผู้อำนวยการโรงเรียนมีส่วนร่วมในด้านการตัดสินใจมากที่สุด 


     ส่วนที่ 2  กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 2  ประกอบด้วย 7  กลยุทธ์ ได้แก่  กลยุทธ์การระดมพลังสมองสองมือสร้างภาพลักษณ์ใหม่แห่งโลกอนาคต กลยุทธ์ตลาดนัดวิชาการ   กลยุทธ์การสร้างระบบการประเมินผลในหลายมิติ กลยุทธ์การปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน กลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุก  กลยุทธ์การส่งเสริมคลังความรู้ให้กับชุมชน  และกลยุทธ์การสร้างแรงจูงใจและรางวัลทางสังคม  ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรเกล้า แก้วโชติ. (2544). ความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดกรมสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต , สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

2. จันโททัย กลีบเมฆ. (2559). การศึกษาในอนาคต. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, 67 ( 21436), 15.

3. ชัยฤกษ์ วงษ์เจริญ. (2545). การวางแผนกลยุทธ์การจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน .
วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย
นเรศวร.

4. บุญน้อม จำพล. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกับ
ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่กาฬสินธุ์เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาตร
มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

5. บำเหน็จ จีนขาวขำ. (2545). ศึกษาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษา
โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

6. ผ่องพรรณ ลิ้มเล็งเลิศ. (2544). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนจังหวัดเชียงใหม่.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบริหารการพัฒนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

7. ยุทธศิลป์ พานนนท์. (2546). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสระบุรี. วิทานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันราชภัฎจันทรเกษม.

8. รุจโรจน์ แก้วอุไร และศรัณยู หมื่นเดช. 8 ขั้นตอนการเรียนแบบโครงงานร่วมกับโซเชียลมีเดียเพื่อ
ส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21.(Online). เข้าถึงได้จาก https://hooahz.wordpress.com/tag. (2559).

9. วัฒน์จิรชัย เวชชนินนาท . ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการของ
ผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลผาสุก อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี.(Online). เข้าถึงได้จาก
http://www.journal.msu.ac.th/upload/articles/article81_711.pdf. (2558).

10. สิริพัฒน์ ลาภจิตร. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุน. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

11. สมลักษณา ไชยเสริฐ พ.ต.อ.หญิง. (2549). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการ
ตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ สถานีตำรวจนครบาล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

12. หทัยวรรณ วิศวกุลวาณิช. (2557). ศึกษาเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษา
เอกชน โดยใช้การบริหารแบบสมดุล : กรณีศึกษาโรงเรียนกาญจนะวิทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

13. อิสริยา ปิ่นตบแต่ง. (2554). ปัจจัยจูงใจในการแลกเปลี่ยนความรู้ของพนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีสุรนารี. วิทยานิพนธ์วิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ,
สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

14. Erdeljac, C.P. (1985). Participative decision making in Pennsylvania public schools : Perception
of superintendents and teacher union presidents. Dissertation Abstracts International,
45(11), 3250 – A.

15. Krejcie, R.V. & Morgan, D. W. (1970).Determining sample size for research activities. Education
and Psychological Measurement. 30 (3), 608.

16. Schuler, B.L., (1996). Citizen participation in educational decision – making. Dissertation Abstracts
International, 51(8), 2595 – A.