การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดของกาเย่ด้วย Edmodo วิชาโปรแกรมตารางคำนวณ (MS Excel) สำหรับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

Main Article Content

เพชรินทร์ ตันวัฒนกุล
สุขมิตร กอมณี
ภูเบศ เลื่อมใส

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดของกาเย่ด้วย Edmodo วิชาโปรแกรมตารางคำนวณ (MS Excel) สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 และเปรียบเทียบคะแนนจากการทดสอบก่อนและหลังการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ Edmodo ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิชาโปรแกรมตารางคำนวณ (MS Excel) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่ลงทะเบียนเรียนวิชาโปรแกรมตารางคำนวณ จำนวน 22 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดของกาเย่ด้วยโปรแกรม Edmodo วิชาโปรแกรมตารางคำนวณ (MS Excel) แบบทดสอบปฏิบัติวิชาโปรแกรมตารางคำนวณ (MS Excel)


     ผลการวิจัยปรากฏว่า การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดของกาเย่ด้วย Edmodo วิชาโปรแกรมตารางคำนวณ (MS Excel) สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 = 93.36/95.45 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และการเปรียบเทียบคะแนนจากการทดสอบก่อนและหลังการเรียนของนักเรียนเมื่อศึกษาผ่านบทเรียนออนไลน์ Edmodo ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิชาโปรแกรมตารางคำนวณ (MS Excel) พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กัลยาณี รจิตรังสรรค์. 2557. การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้บนสื่อออนไลน์ edmodo รายวิชาคอมพิวเตอร์ 3
ง 23103 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี 3 ปีการศึกษา 2557.

2. คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. 2545. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546). กรุงเทพฯ.

3. คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2555. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ.

4. ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์. 2545. E-Learning .นิตยสาร DVM ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 JANUARY-FEBRUARY 2002: 26-28.

5. ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2545. Designing e-Learning หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

6. เปรื่อง กุมุท. 2519. การวิจัยและนวัตกรรมการสอน.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

7. ไพศาล หวังพานิช. 2536. การวัดผลทางการศึกษา. กรุงเทพ : ไทยวัฒนาพานิช.

8. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2545. หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร.

9. พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. 2548. วิธีวิทยาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ :
พัฒนาคุณภาพวิชาการ จำกัด.

10. มนตรี แย้มกสิกร. 2551. การเลือกใช้เกณฑ์ประสิทธิภาพในงานวิจัยและพัฒนาสื่อการสอน: E1/E2 และ 90/90 Standard. วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที 7 ฉบับที 7 (1 ต.ค.2550- ม.ค.2551).

11. มิสปิยะฉัตร์ จันทร์สุวรรณ. 2558. เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ Edmodo โดยเชื่อมโยงกับ Quest base หน่วยการเรียนรู้เรื่อง Language ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.

12. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. 2554. บทสรุปสําหรับผู้บริหารเรื่องสภาพการประยุกต์ใช้ไอซี ทีเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษารองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง.

13. สมชาย เมืองมูล. 2555. การพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาด้วยการเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์บนเว็บไซต์ Edmodo.

14. สมนึก ภัททิยธนี. 2546. การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์. ประสานการพิมพ์.

15. เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และอเนกกุล กรีแสง. 2522. หลักเบื้องต้นของการวัดผลการศึกษา. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

16. เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต. 2528. การผลิตวัสดุเทคโนโลยีทางการศึกษา กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

17. Gagné, Robert M. 1985. The Conditions of Learning and Theory of Instruction 4th edition New York: Holt, Rinehart, and Winston. Xv.

18. Good, Carter V. 1973. Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book Hannum, W. 19100. Web based instruction lessons. [On-Line]. Available: http://www.soe.unc.edu/edci111/8-100/index_wbi2.htm.

19. Khan, B.H. 1997. Web-based instruction. New Jersey: Educational Technology Publications.
Learning Management System. [on-line]. Available from:
http://computer-edu-training.blogspot.com/2007/07/lms.html

20. Oblinger, D. G., Barone, C. A., and Hawkins, B. L. 2001.Distributed Education and Its Challenges: An Overview. Washington, D.C.: American Council on Education.