การพัฒนาศักยภาพทักษะการคิดของครูผู้ดูแลเด็กในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด

Main Article Content

นภัส ศรีเจริญประมง
วราลี ถนอมชาติ
ญาณิศา บุญพิมพ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับทักษะการคิดของครูผู้ดูแลเด็กในท้องถิ่นเขตภาคตะวันออก 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพทักษะการคิดของครูผู้ดูแลเด็กในท้องถิ่นเขตภาคตะวันออก ผู้เข้าร่วมวิจัยครั้งนี้เป็นครูผู้ดูแลเด็กในท้องถิ่นของจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด จำนวน 40 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพวิธีการดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนาศักยภาพทักษะการคิด ประกอบด้วย 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การพัฒนาศักยภาพทักษะการคิด ช่วงที่ 2 การทดลองใช้ต้นแบบกระบวนการพัฒนาศักยภาพทักษะการคิด และช่วงที่ 3 การวิเคราะห์และปรับกระบวนการพัฒนาศักยภาพทักษะการคิด และระยะที่ 2 การสรุปและถ่ายทอดผลการวิจัย


     ผลการวิจัย มีดังนี้


     1. การพัฒนาศักยภาพของครูผู้แดเด็กในท้องถิ่นเขตภาคตะวันออก เป็นการดำเนินการจัดการเรียนรู้ จัดประสบการณ์เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กได้รู้และพัฒนาทักษะการคิด โดยมีการจัดกระทำให้ได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง และฝึกทักษะการคิดที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์นั้นๆ ซึ่งการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ผู้วิจัยได้นำการฝึกทักษะการคิดของ Arends (2001: 362-366) มาปรับใช้ในการพัฒนาศักยภาพทักษะการคิดของครูผู้ดูแลเด็ก พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กที่เข้าร่วมกระบวนการในการพัฒนาศักยภาพทักษะการคิดได้เกิดองค์ความรู้ในเรื่องของการทบทวนบทบาทหน้าที่ของตนเอง และบุคคลอื่นๆ ในกลุ่มที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้ฝึกทักษะในรูปแบบต่างๆ ทั้งทักษะทางการคิด หรือทักษะในการทำกิจกรรมที่แต่ละคนจะมีความถนัดหรือความชอบที่ต่างกันออกไป ซึ่งทำให้ครูผู้ดูแลเด็กเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของการทำงานเป็นกลุ่ม การแบ่งงาน การมอบหมายงาน การคิดหลากหลายรูปแบบ หรือแม้กระทั่งการแสดงความรู้สึกที่มีต่อบุคคลอื่นภายในกลุ่มทั้งในแง่บวก และลบ


     2. จากผลการพัฒนาศักยภาพทักษะการคิดที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นส่งผลต่อทักษะการคิดของครูผู้ดูแลเด็ก เมื่อวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ที่ได้จัดกับครูผู้ดูแลเด็กนั้น พบว่า มีลักษณะของกระบวนการในการคิดที่มีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้วิจัยสามารถแบ่งรูปแบบของทักษะการคิดออกเป็น 2 แบบ ทั้ง 2 แบบ ส่งผลให้มีการปฏิบัติตัวในลักษณะที่ต่างกัน ดังนี้


     แบบที่ 1 มีลักษณะของคนที่ใช้ความรู้สึก ใช้อารมณ์ และยึดมั่นกับความคิดของตนเองในกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับทักษะการคิดกับสมาชิกภายในกลุ่ม พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กในลักษณะนี้จะประสบปัญหาในการที่จะปรับตัวให้เข้ากับสมาชิกภายในกลุ่ม ซึ่งก็ไม่ได้มีผลกระทบหรือส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดแต่อย่างใด


     แบบที่ 2 มีลักษณะของคนที่ใช้ทักษะชีวิตเข้ามาร่วมกับทักษะการคิดที่ตนเองได้พบในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ และเป็นนักปฏิบัติที่จะคอยคิดและกระทำการแก้ปัญหาร่วมด้วย พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กในรูปแบบที่ 2 นี้ค่อนข้างจะมีการพัฒนาตนเองทั้งทางด้านการกระทำ และความคิดในทักษะการคิดเป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กุลยา ตันติผลาชีวะ. 2548. การเรียนรู้แบบเน้นปัญหาเป็นฐาน. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ มกราคม 2548, คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. ฉบับที่ 34: 77-84.

2. คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. 2555. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

3. ธรรมรักษ์ การพิศิษฐ์. 2544. การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับอุดมศึกษา: กรณีศึกษาการเรียนการสอน
วิชาสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

4. มณสภรณ์ วิฑูรเมธา. 2544. การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based learning/PBL). วารสารรังสิต
สารสนเทศ. 7(1): 57-69.

5. คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. 2553. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

6. วัชรา เล่าเรียนดี. 2547. เทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการนิเทศการสอน. นครปฐม: โครงการส่งเสริมการผลิตตำรา
และเอกสารการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

7. วิจารณ์ พานิช. 2555. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

8. วิชนีย์ ทศศะ. 2547. การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่องสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้
ปัญหาเป็นหักและแบบสืบเสาะหาความรู้. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ)
นครปฐม: ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

9. ศศิภา จงรักโชคชัย. 2557. การขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ [Online]. แหล่งที่มา: http://www.taamkru.com.th
[12 ธันวาคม 2557]

10. Arends, Richard. 2001. Learning to Teacher. Singapore: McGraw- Hill Higher Education