การพัฒนาแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

Main Article Content

มนัญญา หาญอาสา
ไพรัตน์ วงษ์นาม
ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 และศึกษาผลการใช้แบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2556 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำนวน 1,125 คน จากโรงเรียน 50 โรงเรียน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 1 ชุด ได้แก่ แบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 ฉบับ 53 ข้อ


     ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


     1.ผลการสร้างแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 ได้แบบวัด ชนิดมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 53 ข้อ


     2. ผลการหาคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้ นั่นคือ มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าดัชนีสอดคล้อง ( IOC ) อยู่ระหว่าง .80 – 1.00 อำนาจจำแนกรายข้อมีค่าอยู่ระหว่าง .34 - .72 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ 0.92 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างมีดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่าดัชนีการวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 0.90  ค่าไคสแควร์ ( ) มีค่าเท่ากับ 2841.03 ระดับองศาอิสระ (df) มีค่าเท่ากับ 975 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์   ( /df) มีค่าเท่ากับ 2.91 ค่ารากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.045 และระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p) มีค่าเท่ากับ 0.00000


     3. ผลการสร้างเกณฑ์ปกติวิสัย (Norms) ของแบบวัดพฤติกรรมการติดอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เมื่อนำมาเทียบกับเกณฑ์ปกติที่ระบุไว้ พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชวาล แพรัตกุล. 2520. เทคนิคการวัดผล. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

2. ชัชพงศ์ ตั้งมณี และสามารถ สีจำปี. 2544. พฤติกรรมการเสพติดอินเตอร์เน็ต : กรณีศึกษานิสิต
ปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

3. ต่าย เซี่ยงฉี. 2526. เอกสารคำสอนกระบวนวิชา ศว.270: ทฤษฎีการทดสอบและวัดผลการศึกษา.
เชียงใหม่: ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

4. นภดล เวชสวัสดิ์. 2538. เจาะลึกทางด่วนข้อมูล:แปลจาก Michel Sallivan – Trainor The Truth
About The Information Superhighway. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

5. น้ำทิพย์ สำเภาประเสริฐ. 2543. การใช้อินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ในระยะเริ่มต้นในเขต
กรุงเทพมหานครกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการสื่อสาร.วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

6. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2538. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงใหม่
ล่าสุด). (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

7. รุจา ภู่ไพบูลย์, จริยา วิทยะศุภรและศิริวรรณ ไกรสุรพงศ์. 2542. ผลกระทบของภาวะวิกฤต
เศรษฐกิจต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัวและความต้องการความช่วยเหลือ. กรุงเทพฯ:
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

8. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2544. รายงานการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

9. อมรวิชช์ นาครทรรพ และคณะ. 2546. โครงการติดตามสถานการณ์เด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ:
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

10. อนันต์ ศรีโสภา. 2524. การวัดและประเมินผลทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:
ไทยวัฒนาพานิช.

11. อิทธิพล ปรีติประสงค์. 2546. รายงานวิจัย ธุรกิจนอกระบบ : ศึกษาเฉพาะกรณีการประกอบ
ธุรกิจสื่อลามกอนาจารบนอินเตอร์เน็ต. กรุงเพทฯ: มูลนิธิคะนึง ฤาไชย.

12. Cronbach,L.J. 1963. Education Phychology. (2nd ed.). New York : Harcourt,Brace and
Company.

13. Schermelleh-Engel, K., Moosbrugger, H., & Müller, H. (2003). Evaluating the fit of structural
equation models: Test of significance and descriptive goodness-of-fit measures.
Methods of Psychological Research - Online, 2003.

14. Young, KS. 1996. Pathological Internet Use: A case that breaks the stereotype. Psychological
Report.

15. _________. 2002. Internet Addiction: Personality Traits Associated with its Development.
Cyberpsychology & Behavior. [Online]. Available from: http://www.
Netaddiction.com/articles/personality correlates.html

16. Young, KS. & Rodgers, R. C. 2001. The Relationship Between Depression and Internet
Addiction. CyberPsychology & Behavior[Online]. Available from: http://www.
netaddiction.com/articles/personality correlates.html

17. Young, KS. 1999a. Caught in the Net : How to Recognize the Signs of Internet Addiction
and a Winning Strategy for Recovery. New York :Wiley