การประเมินโครงการสร้างข้อสอบมาตรฐานวัดความรู้ความสามารถในการคิดขั้นสูงของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา โดยบูรณาการรูปแบบการประเมินของเคิร์กแพตทริกและการประเมินอภิมาน

Main Article Content

คำปั่น ศรีมหาไชย
พงศ์เทพ จิระโร
สมศักดิ์ ลิลา

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการสร้างข้อสอบมาตรฐานวัดความรู้ความสามารถในการคิดขั้นสูงของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา โดยบูรณาการรูปแบบการประเมินของเคิร์กแพตทริกและการประเมินอภิมาน โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction Evaluation) การเรียนรู้ (Learning Evaluation) พฤติกรรม (Behavior Evaluation) ผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กร (Result Evaluation) โครงการตามรูปแบบการประเมินของเคิร์กแพตทริกและการประเมินอภิมาน  กลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่เข้าอบรมในโครงการสร้างข้อสอบมาตรฐานวัดความรู้ความสามารถในการคิดขั้นสูงของเมืองพัทยา  จำนวน  114  คน เครื่องมือที่ใช้ แบบประเมินโครงการ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที  สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว  การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์เนื้อหา


     ผลการวิจัยปรากฏว่าด้านปฏิกิริยาตอบสนองผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ใช้ในการฝึกอบรมเหมาะสมเพียงพอ  พร้อมทั้งมีความคิดเห็นว่า  ควรปรับระยะเวลาในการอบรมให้กระชับ  ด้านการเรียนรู้ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในความรู้ ความเข้าใจในการสร้างข้อสอบมากยิ่งขึ้นเพราะในเนื้อหามีการนำสาระแกนกลางมาใช้ออกข้อสอบในแต่ละตัวชี้วัดด้วย  ด้านพฤติกรรมผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน  รวมถึงการปฏิบัติงาน  และมีความเป็นไปได้ว่า  ข้อสอบที่สร้างมีคุณภาพและสามารถวัดผู้เรียนได้ตรงตามมาตรฐาน และสุดท้ายด้านผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กร  ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในการปฏิรูประบบการทำงานเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงและประโยชน์ที่ได้ ได้รับความรู้  เทคนิค  และขั้นตอนการออกข้อสอบ  ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กำจัด สุดโต. (2553). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนสังกัดเทศบาลจังหวัดสุพรรณบุรี.
ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

2. จุฑารัตน์ ทนันไชย. (2552). การประยุกต์ใช้แบบจำลองของเคิร์กแพตทริคในการประเมินและติดตามผลโครงการ
ฝึกอบรมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด. วิทยานิพนธ์
สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. หมวดวิชาวิจัย ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

3. ชัญญาภัค วงศ์บาและคณะ. (2555). ประเมินผลการฝึกอบรมตามโครงการCHAMPION โดยประยุกต์ใช้แนวทางการ
ประเมินของเคิร์กแพทริค.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น. ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2554 –
มีนาคม 2555.

4. ชิดเชื้อ กนกเพ็ชรรัตน์. (2550). การสร้างแบบทดสอบมาตรฐานวิชาเครื่องมือ และการวัด อิเล็กทรอนิกส์ ตาม
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2548. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล.

5. เชาว์ อินใย. (2553). การประเมินโครงการ : Program Evaluation. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

6. นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551).การประเมินอภิมาน และการวิเคราะห์อภิมาน รายงานผลการ ประเมินคุณภาพภายนอก
ระดับอุดมศึกษา.วารสารวิธีวิทยาการวิจัย ปีที่ : 21 ฉบับที่ : 2 เลขหน้า : 125-145 ปีพ.ศ. : 2551.

7. เนติ เฉลยวาเรศ. (2556). การประเมินอภิมาน : แนวคิดและหลักการ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 มกราคม – มิถุนายน 2556.

8. ปิยวรรณ กระทงงาม. (2556). การประเมินอภิมานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามของ สมศ.ในโรงเรียนระดับ
การศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติ
การศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

9. พงศ์เทพ จิระโร. (2559). หลักการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7 .ชลบุรี : บัณฑิตเอกสาร.
พรพรรณ วันเอก. (2552). การสร้างแบบทดสอบมาตรฐานความรู้ด้านสหกรณ์สำหรับสมาชิก. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ภาควิชาสหกรณ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

10. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2555). เทคนิคการประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟเคอร์มีสท์

11. พิษณุ ฟองสี. (2551). เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธา การพิมพ์.

12. เพ็ญศรี เศรษฐวงศ์. (2549). แบบทดสอบมาตรฐาน (STANDARDIZED TEST). วารสาร รามคำแหง. ปีที่ 23,
ฉบับที่ 4 (ต.ค. – ธ.ค. 2549). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

13. มานะ ทองรักษ์. (2549). การบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธารอักษร.

14. รัตนะ บัวสนธ์. (2555). วิธีการเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและการประเมิน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

15. ศันสนีย์ อุตมอ่าง. (2554). ประเมินโครงการ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตทองม้วน เพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจ
ชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง. คณะ เทคโนโลยีการเกษตร. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

16. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

17. สมร ทองดี. (2551). เอกสารการสอนชุดวิชาสถิติ วิจัย และประเมินผลการศึกษา หน่วย ที่ 1-8 . พิมพ์ครั้งที่ 8.
นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

18. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2553).วิธีวิทยาการประเมิน:ศาสตร์แห่งคุณค่า.พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

19. สิรินธร สินจินดาวงศ์. (2552). การพัฒนาและประยุกต์ใช้มาตรฐานการประเมินอภิมานสำหรับประเมินผลการ
ประเมินคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชา
การวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

20. สิริศักดิ์ อาจวิชัย. (2556). การพัฒนารูปแบบการประเมินอภิมานสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.
วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

21. สุรีพร อนุศาสนนันท์. (2554). การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน. ชลบุรี : เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.

22. สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การประเมินโครงการ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.