พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารและครูที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี

Main Article Content

วิไลวรรณ ศรีมันตะสิริภัทร
ธีรังกูร วรบำรุงกุล

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา เปรียบเทียบพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารและครูที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารและครูกับการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา และสร้างสมการพยากรณ์พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารและครูที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี ปีการศึกษา 2559 โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารและครูที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีม จำนวน 22 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .39 ถึง .79 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการทำงานเป็นทีม จำนวน 67 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .40 ถึง .85 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .99 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .99 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การหาค่าแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย


     ผลการวิจัยพบว่า 1) การทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) การเปรียบเทียบพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารและครูที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี โดยจำแนกตามประสบการณ์การทำงานและขนาดโรงเรียนมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารและครูกับการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การพยากรณ์พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารและครูกับการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี มีความถดถอยไปในทิศทางเดียวกันและสามารถสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กมลนิตย์ วิลัยแลง. (2559). ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วน

2. จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

3. จรัส อติวิทยาภรณ์. (2554). หลักการ และทฤษฏีทางการบริหารการศึกษา. สงขลา : เทมการพิมพ์.

4. จันทร์จิรา จิตนาวสาร. (2559). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในเขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

5. ธร สุนทรายุทธ. (2550). การบริหารจัดการความเสี่ยงทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.

6. นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2554). หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : อนงค์ศิลป์การพิมพ์.

7. _______. (2557). หลักการ และทฤษฏีการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : ตีรณสาร.

8. ประพันธ์ คำสามารถ. (2553). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

9. ปรีชา พึ่งเจียม. (2557). พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา).
กาญจนบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

10. พะยอม วงศ์สารศรี. (2551). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุภา.

11. พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

12. ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2551). หลักและทฤษฏีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

13. ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน ในอำเภอคลองหลวง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

14. วรพจน์ บุษราคัมวดี. (2556). การพัฒนาองค์การ. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

15. วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2549). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

16. ศิริพงษ์ เศาภายน. (2548). หลักการบริหารการศึกษา ทฤษฏีและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

17. สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหารแบบมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

18. _______. (2546). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

19. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2558). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ปีการศึกษา 2558. [ออนไลน์]. Available : http://www.onetresult.niets.or.th [7 ตุลาคม 2559].

20. สุทธิรัตน์ นาคราช. (2558). พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารกับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา).
นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

21. สุภวรรณ ธิวงศ์ษา. (2553). พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
อุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

22. สุพานี สฤษฏ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ : แนวคิดและทฤษฏี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี :
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

23. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการดำเนินงานขององค์คณะบุคคลและการมี
ส่วนร่วม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

24. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานโครงการวิจัยประเมินผลการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

25. Brady, D.A. (1991). The Relationship Between Principal Leadership Style and Teacher
Participation in Decision-Making (Empowerment). New York : Macmillan.

26. Coch, L., & French, J.R. (1948). “Overcoming Resistance to Change”. Human Relations, 1(4), 512-532.

27. Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York : Harper Collins.

28. Dicaro, G. (1997). Group Management : The Administrative Team and Supporting Theory.
Dissertation Abstracts International. 7 : 1321-A.

29. Fowler, M.B. (1986). “The Relationship Between Teacher’ s Perceived Participation in Educational
Decision-Making and Teacher’s Morale in Selected Elementary School in Targeted
Southeastern States,” Dissertation Abstracts International. 46(1) : 3204-4.

30. Thomas S.B., and Scott A.S. (2002). Management : Competency in The New Era. (5th ed).
Boston : McGraw-Hill.