ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาระดับการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา และปัจจัยด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี ปีการศึกษา 2559 โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ จำนวน 71 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .32 ถึง .78 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .99 ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับการจัดการเรียนรู้จำนวน 32 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงตั้งแต่ 0.60 ถึง 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .42 ถึง .80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .99 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .99 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน 2) ระดับการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกข้อ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วม กับการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี มีความสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือด้านการร่วมวางแผนและการสนับสนุนของผู้บริหาร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง คือการร่วมปฏิบัติงาน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การรับรู้เป้าหมายร่วมกัน และการร่วมตัดสินใจ 4) ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี ประกอบด้วยการร่วมวางแผนและการสนับสนุนของผู้บริหาร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .83 สามารถร่วมกันพยากรณ์การจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีได้ร้อยละ 69 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสามารถสร้างสมการในการพยากรณ์ หรือสมการถดถอยได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = .88 + .53X2 + .29X5 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = .55ZX2 + .36ZX5
Article Details
References
สถานศึกษาตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1.
วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
3. กัญญาพัชร พงษ์ดี. (2558). กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคีในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียน
พื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (การบริหารการศึกษา). เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
4. จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2554). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีสยาม
5. จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฏีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
ปัญญาชน.
6. จิรนันท์ นุ่นชูคัน. (2557). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูผู้สอนด้านการจัดการเรียนรู้
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การประเมินการศึกษา). นนทบุรี :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
7. ชาญชัย ยมดิษฐ์. (2548). เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์.
8. ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2547). สู่ทิศทางใหม่ของการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : เค แอนด์ พี บุ๊ค.
9. ชุติพนธ์ นามวงค์. (2556). แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนวชิรวิทย์ ฝ่ายประถมศึกษา อำเภอเมือง
เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
10. ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2551). ศิลปะการบริหารสัมพันธภาพ. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.
11. ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
12. ณรงค์ กาญจนานนท์. (2546). รายงานการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ :
โรงเรียนเทพศิรินทร์.
13. ดาบชัย ข่วงทิพย์. (2555). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายการศึกษาที่ 16
อำเภอกุดบาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.
(การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
14. ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและการบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา.
พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : แอล.ที.เพรส.
15. ธัชพงศ์ มีแก้ว. (2557). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในกลุ่มลำเหย อำเภอดอนตูม สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพ :
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
16. บำรุง มีนา. (2552). การพัฒนาทักษะในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของบุคลากรสายผู้สอน
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 อำเภอเชียงแสน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3.
วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). เชียงราย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
17. ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
18. ปุณฑริกา นิลพัฒน์. (2558). สมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผล
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม วิทยานิพนธ์ ค.ม.
(การบริหารการศึกษา). นครปฐม : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
19. พจนา ทรัพย์สมาน. (2549). การออกแบบการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
20. ภารดี อนันต์นาวี. (2552). หลักการ แนวคิด ทฤษฏีทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ : มนตรี.
21. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลางการเรียนรู้. อยุธยา : โรงพิมพ์เทียนวัฒนา พริ้นท์ติ้ง.
22. ศมนภร นาควารี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารและครูกับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานครราชสีมา
เขต 31. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. (การบริหารการศึกษา). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
23. สร้อยตระกูล อรรถมานะ. (2542). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฏีและการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 2.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
24. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2559). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษา
ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2558. [ออนไลน์].
Available : http://www.onetresult.niets.or.th [10 มีนาคม 2559].
25. สมยศ นาวีการ. (2549). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.
26. สุคนธ์ เครือน้ำคำ. (2548). หลักสูตรและการจัดการขั้นพื้นฐาน. ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
27. สุนทร โคตรบรรเทา. (2551). หลักการและทฤษฏีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.
28. _______. (2554). หลักการและทฤษฏีการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ปัญญาชน.
29. สุวรรณี เนินทอง. (2558). แนวทางการพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสหวิทยาเขต
ทุ่งหินเทิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา).
นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
30. สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2545). “รูปแบบการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา,” วารสารวิชาการ กรมวิชาการ. หน้า 9.
31. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการดำเนินงานขององค์คณะบุคคลและการมีส่วนร่วม.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
32. สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2553). แนวทางการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553.
กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
33. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอเชิงนโยบาย การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา.
กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
34. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานผลการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์
ด้วยปัญญา (Constructionism) ของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
35. อนงค์ อาจจงทอง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.
(การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
36. อนิวัช แก้วจำนงค์. (2550). การพัฒนาองค์การ (Organizational Development). พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.
37. Lunenberg, C.F. and Ornstein, C.A. (2004). Educational Adminstration : Concepts and Practices.
(4th ed). New York : WadsWorth.
38. Maier, N.R.F. (1963). Problem-Solving Discussion and Conferences. New York : John Wiley &
Sons, Inc.
39. Swansburg, C.R. (1996). Management and Leadership for Nurse Managers. Boston :
Jones and Bartlett Publishers.