แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาการบริหารและประกันคุณภาพการศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินการจัดการเรียนการสอน 2) เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลจัดการเรียนการสอน และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ในการศึกษาใช้วิธีวิจัยแบบผสม แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การประเมินการ จัดการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงลึกด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และระยะที่ 3 การรับรู้การจัดการเรียนการสอนที่มีการพัฒนาหรือแก้ไขปรับปรุง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบคะแนนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80/80 ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินภาพรวมนักศึกษาเห็นด้วยกับการจัดการเรียนการสอน 2) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ต้องการพัฒนาหรือแก้ไขปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ มากที่สุด ประเด็นการสัมภาษณ์ เกี่ยวกับด้านแนวการสอน/วิธีการสอน ควรเตรียมกิจกรรมที่จะกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ด้านเอกสารประกอบการสอน/สื่อการสอน ควรเตรียมสื่อการสอนที่สอดคล้องและใกล้เคียงกับกิจกรรมที่ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติ และด้านอุปกรณ์ประกอบการสอน/สถานที่/สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้ ควรมีแนวทางปฏิบัติสำหรับนักศึกษาในการทำกิจกรรมที่เข้าใจง่ายและชัดเจนผลการประเมินหลังการจัดการเรียนการสอน โดยรวมนักศึกษาเห็นด้วย และมีความพึงพอใจต่อผลการจัดการเรียนการสอนยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดสอบประสิทธิผลการเรียนรู้เมื่อเปรียบเทียบเกณฑ์พบว่าคะแนนสอบของผู้เรียนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเท่ากับ ร้อยละ 87.25 และ 4) การนำเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ควรดำเนินตามขั้นตอนทั้ง 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นให้ความรู้พื้นฐาน 2) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 3) ขั้นจัดกลุ่มร่วมมือ 4) ขั้นแสวงหาความรู้ 5) ขั้นสรุปสิ่งที่เรียนรู้ และ 6) ขั้นนำเสนอผลงาน
Article Details
References
2. ดวงนิสา เสี้ยวทอง. (2551). ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักวิชาการใช้โปรแกรมตารางงานของนักศึกษาแผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพตากใบ. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.
3. ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทิพยวิสุทธิ์.
4. ทิศนา แขมมณี. (2556). ศาสตร์การสอน: องค์ความรูเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรูที่มี ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. มะลิวรรณ ทองคำ. (2551). การศึกษาความรู้เรื่อง การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยใช้กิจกรรมโครงงานของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโนนหันวิทยายน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
6. ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด.
8. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แหงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา.
10. อติกานต์ ทองมาก. (2552). การใช้วิธีการสอนภาษาอังกฤษแบบโครงงานเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและทักษะการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านควนสวรรค์ จังหวัดตรัง. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
11. อุไร จุ้ยกำจร. (2557). การประเมินการจัดการเรียนการสอนเสริมเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิชาชีพตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
12. Bransford, J., Brown, A., & Cocking, R. (2000). How people learn: Brain, mind, experience, and school. Washington, DC: National Academy Press.
13. Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. New York: Harper Collins.
14. George Lucas Educational Foundation. Project based learning research. [Online] Available: https://www.edutopia.org. 2001.
15. Stufflebeam, D.L. (2004). The 21st century CIPP model. London: SAGE Publisher.
16. Thomas, J.W. (1998). Project-based learning: Overview. Novato, CA: Buck Institute for Education.