การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพบริบทคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพบริบทคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เพื่อศึกษาลักษณะและกระบวนการเรียนรู้แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ 3) เพื่อศึกษาบทเรียนจากต่างประเทศเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1-5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 381 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นและสภาพปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ประยุกต์ตามแนวทางของลิเคิร์ท (Likert) ผลการวิจัยพบว่า
- ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพบริบทคณะครุศาสตร์ โดยภาพรวมนักศึกษาเห็นด้วยทุกด้าน
- ผลการวิเคราะห์สภาพการดำเนินงานเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในบริบทคณะครุศาสตร์ โดยภาพรวมมีการปฏิบัติมาก ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการทำงานร่วมกัน ด้านโครงสร้างสนับสนุน ด้านวิสัยทัศน์ และด้านการพัฒนาวิชาชีพ ตามลำดับ ส่วนปัญหาโดยภาพรวม อยู่ในระดับน้อย ได้แก่ ด้านโครงสร้างสนับสนุน ด้านการทำงานร่วมกัน ด้านวิสัยทัศน์ และด้านการพัฒนาวิชาชีพ ตามลำดับ
- องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ จากการสังเคราะห์เอกสาร ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ 1) การพัฒนาวิชาชีพ 2) วิสัยทัศน์ร่วม 3) การทำงานร่วมกัน และ 4) โครงสร้างสนับสนุน
- แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพบริบทคณะครุศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ ควรพัฒนาด้านการพัฒนาวิชาชีพ ด้านวิสัยทัศน์ ด้านการทำงานร่วมกัน และด้านโครงสร้างสนับสนุน ตามลำดับ
Article Details
References
2. ปรีดา กองจินดา. (2555). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2 ให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.
3. วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง. (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 25 (มกราคม-เมษายน): 93-102
4. วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพลับลิเคชั่นจํากัด.
5. วีรวุธ มาฆะศิรานนท์. (2548). การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.
6. Boyd, V. (1992). School context Bridge or barrier to change?. Austin TX: Southwest Educational Development Laboratory.
7. Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. New York: Harper Collins.
8. Dale, E. (1969). Audiovisual methods in teaching. third edition. New York: The Dryden Press; Holt, Rinehart and Winston.
9. DuFour, R. (2007). Professional Learning Communities: A Bandwagon, an Idea Worth Considering, or Our Best Hope for High Levels of Learning?. Middle School Journal. 39 (1): 4-8.
10. Eastwood, K., & Louis, K. (1992). Restructuring that lasts: Managing the performance dip. Journal of School Leadership. 2(2): 213-224.
11. Hargreaves, A. (2003). Teaching in the knowledge society: Education in the age of insecurity. New York: Teacher College Press.
12. Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Austin TX: Southwest Educational Development Laboratory.
13. Louis, K.S. & Miles, M.B. (1994). Improving the Urban High School : What Work and Why. New York : Teacher College Press.
14. McLaughlin, M.W. & Talbert, J.E. (2001). Professional communities and the work of high school teaching. Chicago: University of Chicago Press.
15. Ministry of Education (MOE). Teachers-The Heart of Quality Education. [online]. Available: https://www.moe. gov.sg/media/press/2009/09/teachers-the-heart-ofquality.php. 2009.
16. Murphy, C.U. & Dale, W.L. (2005). Whole – Faculty Study Groups: creating Professional Learning Communities That Target Student Learning. 3rd edition. California: Corwin Press.
17. Olivier, F. D. (2009). Professional Learning Committees: Characteristics, Principals, and Teachers. Paper Presented at the Annual Meeting of the Louisiana Education Research Association Lafayette, University of Louisiana at Lafayette.
18. Schmoker, M. (2004). Learning communities at the crossroads: Toward the best Schools we’ve ever had. Phi Delta Kappan. 86(1): 84-88.
19. Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: MCB UP Ltd.
20. Senge, P. M. (2000). Schools that Learn:A Fifth Discipline Fieldbook for Educators, Parents, and Everyone Who Cares about Education. New York: Doubleday.
21. Sergiovanni, T. (1994). Building community in schools. San Francisco: Jossey Bass.
22. Stoll, L., & Louis, K.S. (2007). Professional learning community. New York: Open university Press.
23. Yamane, Taro. (1967). Statistics : An introductory analysis. New York: Harper and Row.