ปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการธนาคารกรุงศรีอยุธยา จังหวัดอยุธยา

Main Article Content

สุวดี พึ่งสุ
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการธนาคารกรุงศรีอยุธยา   และระดับความสำคัญของปัจจัยด้านการบริหารที่ส่งผลต่อตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการธนาคารกรุงศรีอยุธยา  เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยศึกษาจากพนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา ในเขตจังหวัดอยุธยา จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา  สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  t-test One-Way ANOVA และRegression Analysis


            ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง31-35ปี สถานภาพสมรส การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 25,000 บาท อายุงาน6-10 ปี ปัจจัยด้านการบริหารภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการธนาคารกรุงศรีอยุธยา   ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุงาน  สถานภาพ   รายได้ ที่แตกต่างกันส่งผลต่อตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และปัจจัยด้านการวางแผนงาน ในเรื่องของการกำหนดแผนและขั้นตอน และการปรับแผนให้เหมาะสม ปัจจัยด้านการจัดการองค์กร  การจัดแบ่งสายงานในสาขา กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ จัดให้มีการควบคุมดูแล  ให้พนักงานระดับบริหารมีส่วนร่วม ปัจจัยด้านผู้นำในเรื่องของ สั่งการโดยยึดแผนปฏิบัติการ ปรึกษาหารือกับผู้บริหาร สามารถโน้มน้าวจิตใจลูกค้าได้ และปัจจัยด้านการควบคุมในเรื่องของ มีการสื่อสารประสานงาน การประเมินแผนงาน  มีอิทธิพลต่อตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของผู้จัดการสาขาธนาคารกรุงศรีอยุธยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


            ข้อเสนอแนะ สำหรับผู้จัดการธนาคารกรุงศรีอยุธยา   ควรใช้การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นในเรื่องของ การวางแผน มีการกำหนดแผนและขั้นตอนการดำเนินงาน มีการจัดแบ่งสายงานในสาขาให้ชัดเจน มีทักษะในการโน้มน้าวจิตใจลูกค้าได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ มีการประเมินผลการทำงานของพนักงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาพนักงานต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ตุลา มหาผสุธานนท์ .(2545). หลักการจัดการ หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.
2. พะยอม วงศ์สารศรี.(2552). องค์การและการจัดการ.กรุงเทพมหานคร: พรานนกการพิมพ์.
3. ธงชัย สันติวงษ์.(2543).องค์การและการบริหาร.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
4. มัลลิกา ต้นสอน.(2544).การจัดการยุคใหม่.กรุงเทพมหานคร:เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
5. ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ.(2545).ค้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2559, จาก www.bqiconsultant.com
6. นภดล ร่มโพธิ์.(2553).ค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2559,จาก promrucsa-dba04.blogspot.com
7. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด.ภาพรวมการกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานประจำปี2559.กรุงเทพฯ:กลุ่มงานทรัพยากร บุคคล,2559.
8. นิตย์รดี ใจอาษา. (2550). ความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อกระบวนการบริหารจัดการในองค์การ บริหารส่วนจังหวัด จันทบุรี.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ ภาครัฐ และภาคเอกชนวิทยาลัยการ บริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
9. สคาญจิต อุดมกิจวัฒนา.(2552) . ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการให้บริการของพนักงานธนาคารพาณิชย์ไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
10. รัฐพล ศรีกตัญญู. (2551) . ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน).การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย กรุงเทพ.
11. วรรณภา ชำนาญเวช. ( 2551). ปัจจัยสู่ความสำเร็จของพนักงานธนาคารออมสิน ในเขตกรุงเทพมหานคร และ ปริมณฑล.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
12. วรวรรณ ศิลมัฐ .(2555). การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของ ธนาคารออมสิน สาขาแกลง จังหวัดระยอง. การศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเองหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาวิชาการภาษีอากรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย.
13. อนุรัตน์ จักรเจริญพรชัย.(2550). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของ องค์การ บริหารส่วนตำบล: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลหมอนนางอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ ภาครัฐและภาคเอกชนวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
14. Bartol, K.M.,&Martin,D.C.(1997). Management.(2nd ed).New York:McGraw-Hill