ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัยสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2

Main Article Content

ปิยะนุช ศรีตะปัญญะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 2 และศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัย เป็นวิจัยแบบผสม (Mixed Method) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูปฐมวัยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2  ปีการศึกษา 2559 จำนวน 140  คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล  คือ ค่าเฉลี่ย (  ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. ปัจจัยด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน และด้านสภาพแวดล้อม โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้นด้านผู้บริหารอยู่ในระดับมาก

  2. 2. การพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัย โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ และด้านสติปัญญา ตามลำดับ

  3. 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัยพบว่า ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม โดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. แนวทางการพัฒนาคุณภาพด้านผู้เรียนระดับปฐมวัย ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เด็กปฐมวัยต้องได้รับการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ไปพร้อมกัน เน้นทักษะการคิดแก้ปัญหาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเด็กเรียนรู้ได้ดีด้วยการลงมือกระทำ ไม่เห็นด้วยกับการให้เด็กต้องอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัยเหมือนเป็นการกระโดดข้ามพัฒนาการตามช่วงวัย เมื่อเด็กได้รับการพัฒนาทั้ง 4 ด้านอย่างสมบูรณ์ เด็กก็จะดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 . คุรุสภาลาดพร้าว.
2. คมคาย พลสมัคร. (2544). พฤติกรรมการสอนของครูระดับก่อนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอุดรธานี. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
3. พราวพรรณ เหลืองสุวรรณ และคณะ. (2552). ประมวลสาระชุดวิชา หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษาหน่วยที่ 9 -10. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
4. ยศกมล เรืองสง่า. (2551). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ในวัด. นครพนม: งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชา การบริหารการศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
5. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). ภาพอนาคต & กลยุทธ์ : เราจะใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการเรียนรู้ใน โรงเรียนได้อย่างไร?. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
6. สำนักงานแรงงานจังหวัดชลบุรี. (2558). สถานการณ์แรงงานจังหวัดชลบุรี ไตรมาส 1 ปี 2558 (มกราคม-มีนาคม) 2558. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2559, จาก http://chonburi.mol.go.th
7. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ระยะยาว พ.ศ.2550-2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
8. อารมณ์ สุวรรณปาล. (2552). ประมวลสาระชุดวิชา หลักการและแนวคิดทางการปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 9 -10. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
9. Bandura, Albert. (1997). Self – efficacy : The exercise of control. New York : W.H. Freeman. and company.
10. Erik H. Erikson. (1968). Identity : Youth and Crisis. New York : Norton & company.
11. Gesell, Arnold; & Lig, F.L. (1984). The child from Five to Ten. New York: Harpers And Brothers Publishers.
12. Hasemoh kalupea. (2555). ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2559, จาก http://405404027.blogspot.com/2012/10/blog-post_5215.html.
13. Piaget. (1969). The Mechanisms of Perception. New York : Basic Book.
14. Sigmund Freud. (1964). Group Psychology and The Analysis of The Ego Sigmund Freud. New York: Bantam Books.