รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะทางการสอนของผู้ดูแลเด็กในท้องถิ่นเขตภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะทางการสอนของผู้ดูแลเด็กในท้องถิ่นเขตภาคตะวันออก และเพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับ การพัฒนาสมรรถนะทางการสอนของผู้ดูแลเด็ก ผู้เข้าร่วมวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้ดูแลเด็กในเขตจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด จำนวน 30 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบมีการแทรกแซง ประกอบด้วย 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การพัฒนาต้นแบบการจัดการเรียนรู้ ช่วงที่ 2 การทดลองใช้ต้นแบบการจัดการเรียนรู้ และช่วงที่ 3 การวิเคราะห์ และปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 2 การสรุป นำเสนอ และถ่ายทอดผลการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประสบการณ์เป็นฐาน มีขั้นตอนการดำเนินการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ประสบการณ์ 2) สะท้อนความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และอภิปราย3) สรุปอ้างอิง 4) ประยุกต์ใช้ /ทดลองใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ 2. การปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่าหลังจากทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประสบการณ์เป็นฐาน ผู้ดูแลเด็กมีสมรรถนะทางการสอน ในด้านความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ เพิ่มสูงขึ้น
Article Details
References
2. กองราชการส่วนตำบล กรมการปกครอง. (2539). กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง.
3. ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2540). “ชุดการสอนรายบุคคล” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการศึกษาพัฒนาสรร หน่วยที่ 4. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
4. ทัศนีย์ นาคุณทรง. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 4(1): 77-78.
5. วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
6. สมศักดิ์ ภู่วิภาวรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
7. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และที่เน้นปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
8. สำนักประสานและการพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น. (2552). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
9. Doyle, E. I. and Ward, S. E. (2001). The process of community health education and promotion. Long Grove: Waveland Press.
10. Kolb, D.A. (1984). Experiential learning : Experience as the source of learning and development. New Tersev: Prentice Hall.
11. Marlowe, B.A. and Page, M. L. (1998). Creating and sustaining the constructivist classroom. Thousand Oaks, CA: Corwin.